มวยโบราณโคราช ศิลปะการต่อสู้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีเสน่ห์ และแตกต่างไปจากมวยอื่นๆ

มวยโบราณโคราช

มวยโบราณโคราช มวยไทยตำหรับโคราช เป็นอีกหนึ่งมวยไทยที่มีประวัติมาอย่างช้านาน

มวยโบราณโคราช มวยไทยโคราช นั้นมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะว่าชาวไทยได้มีการ ฝึกการต่อสู้ด้วยอาวุธสั้น ประกอบกับ ศิลปะมวยไทย โดยมีเป้าหมายในการ ปกป้องประเทศชาติ อีกทั้งโคราชเป็นเมือง หน้าด่านชั้นเอกที่ต้อง ทำการรบกับผู้รุกรานอยู่เสมอ

จึงทำให้ชาวโคราช มีความเป็นนักสู้โดยสายเลือด มาหลายชั่วอายุคน เมื่อบ้านเมืองสงบสุข มวยไทยจึงมีการพัฒนา มาเป็นศิลปะวัฒนธรรม ทางการต่อสู้ป้องกันตัว ประจำชาติไทย ด้วยเหตุเพราะคนไทย ในสมัยโบราณนั้น นับมาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ลงมาจนถึงพลเมือง ทั้งชายและหญิงจะต้อง

ฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว ให้เจนจัด ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นห้วงเวลาที่ มวยคาดเชือก รุ่งเรืองมากที่สุด มีการจัดแข่งขัน มวยคาดเชือก หน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานศพของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

ในวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2452) โดยให้หัวเมืองทั่วประเทศ ทำการคัดเลือก นักมวยฝีมือดีเข้าแข่งขัน และสำหรับนักมวย ฝีมือดีชนะคู่ต่อสู้ หลายคนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ทรงโปรดฯ พระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ เป็น “ขุนหมื่นครูมวย” ถือศักดินา 300 จำนวน 3 คน ก็คือ นายปรง จำนงทอง

จากเมืองไชยา ให้เป็น “หมื่นมวยมีชื่อ” นายกลึง โตสะอาด จากเมืองลพบุรี ให้เป็น “หมื่นมือแม่นหมัด” และนักมวยจากเมืองโคราช นายแดง ไทยประเสริฐ ลูกศิษย์ของพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราชเป็น “หมื่นชงัดเชิงชก” นอกนั้นยังมีนักมวยจาก เมืองโคราชอีกหลายคน ที่มีฝีมือดีเยี่ยม จนมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ที่เดินทางเข้าไป ฝึกซ้อมมวยกับ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ณ วังเปรมประชากร

มวยโบราณโคราช

มวยโบราณโคราช วิธีฝึกมวยสายโคราช โดยธรรมชาติในสมัยโบราณเป็นอย่างไร

โดยสำหรับการ ฝึกมวยโคราช ในสมัยก่อนนั้นก็จะ อาศัยเครื่องมือที่ใช้ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ เข้ามาช่วยในการฝึก ผสมผสานกันไป อย่างเช่น ตักน้ำ กระเดียดน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ปีนต้นมะพร้าว ปีนต้นหมาก ฝึกประสาทส่วนต่างๆ ให้ตื่นตัวอยู่เสมอ วิ่งไปตามท้องไร่ท้องนา

นอนเกลือกกลิ้งบนหญ้า ที่มีน้ำค้างเกาะในยามเช้า นั่งขัดสมาธิใช้ดวงตา เพ่งมองไปยังดวงอาทิตย์ ตอนเช้ามืดโดยที่ไม่กระพริบตา วิ่งตามชายหาดแม่น้ำ วิ่งในน้ำตื้นมองตามเท้า โดยกระแทกเท้า ให้มองเห็นพื้นทุกก้าว วิ่งลุยน้ำลึกเท่าที่จะลึกได้ และใช้มือซ้าย ขวาสับน้ำให้กระเด็น เข้าตาโดยลืมตาสู้น้ำ

การฝึกทักษะการปั้นหมัด อย่างเช่นการยืน การชกต่อย การศอก การเข่า การเตะ โดยที่จะใช้ผ้าขาวม้า พันหมัดทั้งสองหมัด พาดผ่านคอด้านหลัง ยกหมัดตั้งท่า และเคลื่อนที่ก้าวเท้าพร้อมกับ เคลื่อนหมัดขึ้นลง ตามท่าที่ครูมวยสอน ซึ่งการใช้ผ้าขาวม้า พันมือชกกับคู่ ใช้ลูกมะนาว 10 ลูกผูกกับด้ายแขวนห้อย

กับราวไม้รวกให้ต่อย และศอกโดยที่ ไม่ให้ลูกมะนาวหลุด ไม่ให้ด้ายพันกันและ ไม่ให้ลูกมะนาวถูกหน้า และยังมีการใช้ต้นกล้วย ตัดเป็นท่อนมาตั้งไว้ แล้วให้นักมวยฝึกเตะ ฝึกตีเข่า โดยไม่ให้ต้นกล้วยล้ม พร้อมทั้งจับคู่กอดปล้ำ ฟันศอก ตีเข่า ต้องฝึกหัดด้วยความ ยากลำบากและ

ใช้เวลานานหลายปี โดยทั่วไปจะใช้เวลาฝึกประมาณ 3 ปี ครูเอาใจใส่ สั่งสอนตั้งแต่ขั้นต้น ไม่มีการเรียนลัด ซึ่งสถานที่ฝึกก็มักจะ นิยมฝึกตามราชสำนัก วัด บ้านครูมวย และสำนักมวยต่างๆ มวยไฟต์หยุดโลก

รู้หรือไม่ว่า มวยไทยโคราช นั้นมีทั้งหมด 4 ยุค มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • มวยไทยโคราชยุคเริ่มต้น จะเป็นในยุคที่จะนับตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่1 – รัชกาลที่4 คุณหญิงโมได้นำ ชาวเมืองโคราช เข้าต่อสู้กับกองทัพทหาร ของเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งยกทัพมาต้อน พลเมืองโคราชไปยัง เวียงจันทร์จนได้รับชัยชนะ และหลังจากนั้น คุณหญิงโมได้รับการ ปูนบำเหน็จให้สถาปนาเป็น “ท้าวสุรนารี”
  • มวยไทยโคราชยุครุ่งเรือง ซึ่งในยุคนี้จะนับตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่5 – รัชกาลที่6 เป็นยุคที่ มวยไทยโคราช และ มวยไทย ในท้องถิ่นอื่นๆนั้น มาชกกันแบบคาดเชือก และเป็นยุคที่มีความเจริญ มีการพัฒนาจนรุ่งเรือง สูงสุดมีนักมวยที่มี ฝีมือดีจากเมืองโคราช ลูกศิษย์องพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช ได้ไปฝึกซ้อมให้กับ ประชาชนของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หลายคนเป็นที่ พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่5 และ รัชกาลที่6 กรมหลวงชุมพร จนไปถึงประชาชน ทั่วประเทศจนไม่มีใคร กล้าที่จะมาเป็นคู่ชก
  • มวยไทยโคราชยุคเริ่มต้นสวมนวม ซึ่งในยุคนี้จะนับมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่6 – รัชกาลที่8 ที่ได้มีการนำเอานวม สวมชกแทนการ คาดเชือกและมีนักมวย จากนครราชสีมา เดินทางไปชกที่ กรุงเทพมหานคร หลายคนมีการสอน มวยไทยโคราช ในโรงเรียนนายร้อย จปร. มีคณะมวยเกิดขึ้นหลายคณะ ได้แก่ เทียมกำแหง แขวงมีชัย อุดมศักดิ์ ลูกโนนไทย สินสุวรรณ นั่นเอง
  • มวยไทยโคราชยุคฟื้นฟูอนุรักษ์ ในยุคนี้จะนับมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่9 – มาจนถึงปัจจุบัน ที่ไม่มีการฝึกหัด ศิลปะมวยไทยโคราช แบบคาดเชือกในสมัยโบราณ ในเขตพื้นที่เมืองโคราช หรือ จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ทั้งๆที่สมัยโบราณนั้น มวยไทยโคราชมีความ เก่งกล้าสามารถเป็นเลิศ แต่ในยุคที่มีเวที จัดแข่งขันมวยไทยอยู่ทุกแห่ง การฝึกซ้อมและ การจัดการแข่งขันนั้น จะเน้นไปทางธุรกิจ เสียมากกว่าจึงทำให้การ ฝึกหัดมวยไทยโคราช นั้นน้อยลง แต่ยังมีลูกศิษย์ครูบัว วัดอิ่ม (นิลอาชา) คือ พันเอกกำนาจ พุกศรีสุข เป็นผู้ที่ถ่ายทอด มวยไทยโคราชคาดเชือก ให้กับผู้ที่สนใจใน มวยไทยโคราชทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สืบสาน ที่สยามยุทธ์ กรุงเทพมหานคร ให้สำหรับผู้ที่อยากเรียน มวยไทยโคราชและ อยากฝึกมวยไทยโคราชอีกด้วย

มวยโบราณโคราช

เอกลักษณ์ของมวยไทยโคราช ที่เห็นแล้วจะต้องรู้เลยทันที

สำหรับเอกลักษณ์ของ มวยไทยโคราช นั่นก็คือมีการ สวมกางเกงขาสั้น สวมมงคลที่ศีรษะขณะชก และมีการพันหมัดแบบคาดเชือก ตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะว่ามวยโคราช นั้นเป็นมวยต่อยวงกว้าง และใช้หมัดเหวี่ยงควาย จึงทำให้การพันเชือกเช่นนี้ เพื่อป้องกันการเตะ ต่อยได้ดี การฝึกฝึกจากครูมวยในหมู่บ้าน ต่อจากนั้นจึงได้รับ การฝึกจากครูมวยในเมือง กับขั้นตอนการฝึก โดยใช้แบบธรรมชาตินั่นเอง

ข่าวสารมวยไทยจาก : ดูบอล123 UFABET