แม่ไม้มวยไทย รวบรวมแม่ไม้มวยไทย 15 ท่า ศิลปะการต่อสู้ของไทย
แม่ไม้มวยไทย ความเป็นมาของ มวยไทย นั้นเรียกได้ว่า เป็นศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวที่สามารถ นำไปใช้ได้ทั้งใน เชิงกีฬาและการต่อสู้จริงๆ ซึ่งศิลปะประเภทนี้ ก็มีมาตั้งแต่โบราณ บรรพบุรุษของชาติไทย ได้ฝึกฝนอบรบสั่งสอน กุลบุตรไว้เพื่อ ป้องกันตัวและชาติ เหล่าบรรดาชายฉกรรจ์ ของไทยได้รับการฝึกฝน วิชามวยไทยแทบทุกคน เพราะว่านักรบผู้กระเดื่อง นามทุกคนต้องได้รับ การฝึกฝนอบรมศิลปะ ประเภทนี้อย่างจัดเจน
ทั้งสิ้นเพราะการใช้ อาวุธในสมัยโบราณ เช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ถ้ามีความรู้วิชา มวยไทยประกอบด้วย แล้วจะทำให้เกิด ประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่เข้าต่อสู้ ติดพันประชิดตัว ก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะ บางส่วนเข้าช่วย อย่างเช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทย
ที่มีชั้นเชิงสูง ก็มักจะฝึกสอนกัน ในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะ พระมหากษัตริย์และ ขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลาย ไปถึงสามัญชนซึ่งได้ รับการถ่ายทอดวิทยา การจากบรรดา อาจารย์ซึ่งเดิมเป็นขุนพล หรือยอดนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลาย และคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
มวยไทยศิลปะ การต่อสู้และป้องกันตัว แต่ก็แตกต่างไปจาก มวยสากล ก็คือนอกจากจะใช้หมัด ชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ เท้า เข่า และศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบ มวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกชุด และชกอัปเปอร์คัต เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังได้มี ท่ามวยไทยโบราณ
การชกมวยแบบ มุดตัวเหวี่ยง หมัดกลับ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดู และไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยง กลับของคู่ต่อสู้ถึงกับ น็อกเอาท์ก็ได้ หมัดเหวี่ยงกลับ ก็เป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับมุด ตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือ หลังมือทุบหรือตีคู่ต่อสู้ นักมวยไทยทั่วๆ ไปยังใช้วิธีชกตาม แบบเหล่านี้อยู่
และนอกจากนั้น ยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้าเตะต่ำ เตะสูง เตะตรง เตะตัด และถีบ ซึ่งจะใช้ได้ทั้งปลายเท้า ฝ่าเท้า หลังเท้า และส้นเท้า นักมวยไทยมี ความชำนาญ มากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้ หลายวิธีด้วยกัน
เช่น กระโดดตีเข่า จับกอดคู่ต่อสู้ตีเข่า นอกจากนั้น ยังรู้จักใช้ศอกซึ่ง เต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอก ลงโดยตรงศอกตัด คือเหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ วัดปลายศอกขึ้น หรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออกไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบ ต่างๆไปด้วยนั่นเอง
แม่ไม้มวยไทย 15 ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่เป็นพื้นฐาน
- ท่าสลับฟันปลา : แม่ไม้นี้เป็นไม้หลัก หรือไม้ครูเบื้องต้น ที่ใช้รับและหลบหมัดตรง ของคู่ปรปักษ์ที่ ชกนำอย่างรุนแรง และหนักหน่วง หลบออกวงนอก นอกลำแขนของ คู่ปรปักษ์ทำให้หมัดตรง ของผู้ชกเลยหน้าไป
- ปักษาแหวกรัง : ก้าวเท้าข้างหนึ่งทแยงเข้าวงใน ใช้แขนปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นใบหน้า และใช้มืออีกข้างกระแทก ไหล่ด้านในของฝ่ายรุก
- ชวาซัดหอก : ก้าวเท้าเฉียงออกวงนอก ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่ง ยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก
- อิเหนาแทงกริช : ก้าวเท้าทแยงเข้าวงใน ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่ง ยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก
- ยอเขาพระสุเมรุ : ก้มศีรษะเพื่อให้หมัดฝ่ายรุกพ้นไป พร้อมก้าวเท้าไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้หมัดเสยคางฝ่ายรุก
- ตาเถรค้ำฝัก : ก้าวเท้าข้างหนึ่งเข้าวงใน พร้อมกับงอแขนข้างหนึ่ง ปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างชกปลายคางฝ่ายรุกทันที
- มอญยันหลัก : ยกแขนทั้งสองป้องกันหน้า แล้วใช้เท้าข้างหนึ่งถีบท้อง หรือช่องอกฝ่ายรุกให้กระเด็น
- ปักลูกทอย : หันตัวหาทิศทางที่ฝ่ายรุกเตะมา ยกศอกทั้งสองขึ้นป้องกัน พร้อมกับใช้มือป้องกันการพลาดถูกใบหน้าไปในตัว
- จระเข้ฟาดหาง : ใช้ส้นเท้ากระแทกเข้าที่ศีรษะของฝ่ายรุก
- หักงวงไอยรา : ใช้แขนโอบจับบริเวณน่องฝ่ายรุก พร้อมกับใช้ศอกอีกข้างแทงเข้า ที่บริเวณโคนขาของฝ่ายรุก
- นาคาบิดหาง : ใช้มือทั้งสองตะปบส้นเท้าอีกฝ่ายที่เตะมา แล้วใช้มือที่จับปลายเท้าฝ่ายรุกบิดออกด้านนอก ใช้มือที่จับส้นเท้าฝ่ายรุกดึงเข้าหาตัว พร้อมใช้เข่ากระแทกเข้าที่น่องฝ่ายรุก
- วิรุฬหกกลับ : พลิกตัวทแยงสู่ทิศที่ฝ่ายรุกเตะมา แล้วใช้เท้ากระแทกต้นขาฝ่ายรุกออกไป โดยใช้มือทั้งสองป้องกันการพลาดเตะถูกชายโครง
- ดับชวาลา : ใช้มือข้างหนึ่งกดแขนฝ่ายรุกที่ชกมาให้ลงต่ำ พร้อมกับใช้มืออีกข้างชกหน้าฝ่ายรุกในเวลาเดียวกัน
- ขุนยักษ์จับลิง : ยกแขนทั้งสองปัดการเตะที่แข้งของฝ่ายรุก แล้วยกแขนข้างหนึ่งป้องกันศอกของฝ่ายรุก ซึ่งเป็นการหลบการชก, การเตะ และการศอกในเวลาเดียวกัน
- หักคอเอราวัณ : ใช้มือทั้งสองจับที่ต้นคอของฝ่ายรุก แล้วกระแทกเข่าข้างหนึ่งไปที่หน้าของฝ่ายรุก
ผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเชิงมวยไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา
นายขนมต้ม ที่สามารถใช้วิชามวยไทย เอาชนะศัตรูได้เป็นจำนวนมาก แม้แต่พระมหากษัตริย์ ของไทยบางพระองค์ในสมัยอยุธยา ก็ทรงโปรดปราณ และมีความสามารถในวิชามวยไทย เช่น พระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
ได้ทรงส่งเสริมวิชามวยไทย ให้แพร่หลายยิ่งขึ้นโดยได้ทรงจัด ให้มีการแข่งขันชกมวยไทยการกุศล เพื่อเก็บรายได้ไปบำรุงกองเสือป่าขึ้น ที่เวทีมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2463 สำหรับเวทีมวยไทยอื่นๆ ในครั้งนั้นก็มี
เวทีสวนเจ้าเชตุและเวทีหลักเมืองเป็นต้น การชกมวยไทย เป็นการชกด้วยหมัดเปล่าๆ ต่อมาเมื่อมีการแข่งขัน ก็ได้มีการคาดเชือกที่มือ และในระยะต่อมา จึงใช้สวมนวมแทนแบบมวยสากลนั่นเอง
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับแม่ไม้มวยไทยเลยนั่นก็คือ การไหว้ครู
ในการแสดงศิลปวิทยาต่างๆ ก็ย่อมที่จะมีครูบาอาจารย์ เป็นผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาการให้ เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งอบรมสั่งสอนกันมา ในเรื่องความกตัญญู รู้คุณต่อท่านผู้มีพระคุณ เมื่อรู้คุณแล้วก็จะต้องมีกตเวที คือตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ การไหว้ครูเป็นผลจากคุณธรรมดังกล่าวแล้ว ดังนั้น
มวยไทยซึ่งเป็นศิลปวิทยาแขนงหนึ่ง จึงอยู่ในกรอบประเพณีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ต้องมีพิธีไหว้ครูก่อนทำการแข่งขัน สำหรับท่าไหว้ครูมีท่า ถวายบังคมเป็นท่าเริ่มแรกนั้น กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนการชกมวยไทย มักจะจัดขึ้นหน้าพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์มักจะ เสด็จออกทอดพระเนตร
นักมวยที่จะเข้าแข่งขัน เมื่อขึ้นสังเวียนแล้ว จึงต้องเริ่มด้วยการถวายบังคม ด้วยลีลาท่าทางของนักมวย การไหว้ครูมีท่ารำอยูหลายท่า ตามแต่ครูบาอาจารย์และ เจ้าสำนักมวยต่างๆ จะประดิษฐ์คิดขึ้นมาเป็นแบบอย่าง เช่น ท่าเบญจางคประดิษฐ ท่าเทพพนมพรหมสี่หน้า ท่าสาวน้อยประแป้ง ท่าหนุมานตบยุง
จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันของ มวยไทย
ปัจจุบันการแข่งขันมวยไทย เรียกได้ว่าเป็นกีฬาอาชีพ โดยสิ้นเชิงเฉพาะในกรุงเทพ ที่มีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละ 2 รอบก็มีสำหรับการควบคุม มวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับ ของกระทรวงมหาดไทย ที่ไม่ใช่อาชีพก็มีเพียงการ ฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ศิลปะมวยไทยนั้น
สูญหายไปและเพื่อรักษา ไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติ อันเป็นศิลปะในการต่อสู้ ชาวต่างประเทศที่มีโอกาส ได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็มักจะไม่ยอมพลาด โอกาส ที่จะไปชมการแข่งขันมวยไทย จะต้องพยายามเข้าชม การแข่งขันมวยไทย ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่น่าสนใจ ของชาวต่างประเทศอย่างมาก
อ่านบทความมวยเพิ่มเติม >> ท่ามวยไทยโบราณ
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก : ดูอนิเมะออนไลน์ , UFABET