เวทีมวยราชดำเนิน ประวัติสนามมวย ที่เป็นมากกว่าเวทีมวย แต่เชื่อมโยงไปกับผู้คนและสังคมไทยนานเกือบ 8 ทศวรรษ
เวทีมวยราชดำเนิน เวทีมวย อันโด่งดังแห่งนี้ที่มีอายุกว่า 70 ปีแล้ว และเคยเป็นเวทีแจ้งเกิด ให้แก่บรรดานักมวยมืออาชีพ หลายๆคนในต้อนนี้ อย่างแชมป์โลกและ ไอดอลมวยไทยรุ่นเก๋าอย่าง “เขาทราย แกแล็คซี่” ก็แจ้งเกิดที่เวทีราชดำเนินเช่นกัน และในปัจจุบันนี้ เวทีมวยราชดำเนิน แห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เวทีราชดำเนิน” และได้รับการปรับปรุง ให้เข้ากัยยุคและทันสมัยมากขึ้น และได้กลายเป็น สนามมวยมาตรฐาน แห่งประเทศไทยไปแล้ว
และกลายเป็นว่าข้างใน เวทีมวยกลับเต็มไปด้วย ผู้ชมชาวต่างชาติ ที่ตอนนี้เริ่มหันมา ปักหมุดเวทีมวย ว่าเป็นอีกหนึ่งพิกัด ที่จะพลาดไม่ได้เมื่อมาเมืองไทย หนึ่งในเหตุผล อาจจะมาจากราคาบัตรริงไซด์ ราคา 2,000 บาท แน่นอนว่าได้ที่นั่ง แบบใกล้ชิดติดขอบเวทีมาก ถัดไปคือคลับคลาส ราคา 1,000 บาท
ขยับขึ้นมาจากริงไซด์อีกหน่อย แต่ก็ยังชัดอยู่ไกลออกไป ชั้น 2 ราคา 840 บาท ส่วนชั้น3 ติดขอบนอก ราคา 420 บาท เป็นศูนย์รวมของ แฟนมวยชาวไทย แม้ว่า มวยไทย จะเป็นศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวที่มีมาแต่โบราณ และในปัจจุบัน ก็มีแข่งกันแพร่หลาย แต่หากย้อนกลับไป ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
สภาพเวทีมวยเวลานั้น ยังไม่ปรากฏการแข่งขันประจำ อย่างเช่นปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปกรุงเทพ จึงเริ่มมีสนามมวยขึ้นมากมาย อย่าง สนามมวยสวนกุหลาบ มาจนถึงสนามมวยเวทีราชดำเนิน ก่อนเพิ่มเติมมาสู่ส นามมวยแห่งที่สองในกทม. นั่นคือสนามมวยเวทีลุมพินี ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ช่ำชองในการมวย
เล่ากันต่อมาว่า การจัดแข่งขันไม่ได้เป็นระบบ แพร่หลายดังปัจจุบัน จะมีเพียงแต่ในงาน นักขัตฤกษ์ประจำปี เป็นครั้งคราวเท่านั้น ที่ผู้เชี่ยวชาญเชิงมวย จะได้โชว์ฝีมือ และมวยก็ยังไม่ได้เป็นอาชีพ กระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสนามมวยภาย ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดให้ชกทุกวันเสาร์ในปีพ.ศ. 2464 หลังจากนั้นจึงได้เริ่มมี สนามมวยเกิดขึ้นมาตามลำดับ
ความเป็นมาของ สนามมวยราชดำเนิน เวทีมวยราชดำเนิน เวทีมวยชื่อดังในประเทศไทย
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เป็นชื่อเดิมในสมันนั้น มีความต้องการที่จะส่งเสริม และสนับสนุนกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นศิลปการต่อสู้ประจำชาติ จึงได้เลือกเอาบริเวณ มุมถนนพะเนียง ริมถนนราชดำเนินนอก เป็นสถานที่ก่อสร้างสนามมวยแห่งชาติ ชื่อเดิมในสมัยนั้น
การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2484 โดยบริษัท Imprese Italiane All ‘ Astero – Oriete เป็นผู้ประมูลก่อสร้างในราคา 258,900 บาท กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 365 วัน แต่ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในปลายปีเดียวกัน การก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป จนกระทั่งปี 2487 จึงได้ก่อสร้างต่อ
และสามารถเปิดเป็น สนามมวยแห่งชาติ ได้ในวันที่ 23 ธันวาคม 2488 ซึ่งเป็นรายการแข่งขันในนัดแรก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติไป 4 เดือน สงครามโลก ครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2488 โดยมี นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ
เป็นนายสนามมวยคนแรก ดำรงตำแหน่งปี 2488-2490 ต่อมา นายประหลาด อิศรางกูร เป็นนายสนามมวยคนที่ 2(ดำรงตำแหน่ง 2490-2492) แต่ปรากฏว่าประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของเวที เจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ สมัครใจที่จะเรียกว่า “สนามมวยเวทีราชดำเนิน” มากกว่าที่จะเรียกว่า
“สนามมวยแห่งชาติ” สนามมวยมาตรฐานเวทีแรกของประเทศไทย จึงมีชื่อว่าเวทีราชดำเนิน มาตั้งแต่ตอนนั้น โดยที่เวทีราชดำเนิน เปิดการแข่งขันแบบ เวทีกลางแจ้งมาโดยตลอด เรียกว่าเป็นที่เดือดร้อนของผู้ชม รวมทั้งเจ้าหน้าที่และนักมวย เป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาฝนตก
ซึ่งจะต้องมีการยกเลิก การแข่งขันเป็นประจำ นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ผู้ดำรงตำแหน่งนายสนามมวยคนที่ 3 จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ สร้างหลังคาและจัดสร้างอัฒจันทร์ ที่นั่งขึ้นมาในปี 2493 แล้วเสร็จในปลายปี 2494 สิ้นงบประมาณก่อสร้างไป 2 ล้านบาท การดำเนินการจัดแข่งขันชกมวย
ของเวทีราชดำเนินนั้น เรียกว่าขาดทุนมาโดยตลอด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงยกเลิกกิจการเมื่อปี 2496 และจะให้บริษัทเอกชน เข้ามาบริหารงานแทน ซึ่งขณะนั้น นายเฉลิม เชี่ยวสกุล นายสนามมวยคนปัจจุบันในสมัยนั้น เกรงว่าถ้ามีบริษัทเอกชนอื่นๆ เข้ามาบริหารงานแทน จะบริหารงานโดยที่
ไม่ยึดหลักวัตถุประสงค์ดั้งเดิม ของการมีสนามมวยเวทีราชดำเนินคือ ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยไทย นายเฉลิม เชี่ยวสกุล จึงก่อตั้งบริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด ขึ้นมาแล้วเช่าสถานที่ ดำเนินกิจการแทนเพื่อ บริหารงานตามนโยบายหลักคือ ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยไทย จนกระทั่งปัจจุบัน
ซึ่งปรากฏว่า ประสบความสำเร็จด้วยดีมาตลอดมา ทั้งในด้านของการสนับสนุน ส่งเสริมกีฬามวยไทย ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติ และในด้านการเผยแพร่ชื่อเสียง ของประเทศชาติ ซึ่งได้รับการยอมรับ จากต่างประเทศว่าเป็นสถาบัน เพื่อการส่งเสริมกีฬามวยไทย อย่างแท้จริง
“จิต เชี่ยวสกุล” นายสนามเวทีราชดำเนิน ที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น เวทีมวยประวัติยาวนาน
“จิต เชี่ยวสกุล” นายสนามมวยคนที่ 13 ผู้บริหารรุ่นใหม่แห่งราชดำเนิน สนามมวยแห่งแรกของประเทศไทย อย่างที่รู้จักกันดีนั่นก็คือเวทีมวยราชดำเนิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน ที่ตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 77 แล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ.2488 ผ่านการมีนายสนามมวยมาแล้วถึง 12 คน
จนตอนนี้นายสนามมวยคนล่าสุดคือ “จิต เชี่ยวสกุล” ถือว่าเป็นนายสนามมวยคนที่ 13 และยังเป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 ของครอบครัวนี้ที่เข้ามาดูแลอีกด้วย การเข้ามาเป็นนายสนามมวย อย่างเป็นทางการของ ผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่ เปิดใจจับเข่าคุยถึงเรื่องราว เบื้องหลังและเป้าหมายในชีวิต
เล่าประวัติก่อนเข้ามาเป็น นายสนามมวยแห่งนี้ ตั้งแต่เกิดมาเท่าที่จำความได้ ก็พอรู้ว่าครอบครัวของตัวเองนั้น เกี่ยวข้องกับวงการมวยไทยอยู่แล้ว เห็นคุณพ่อ “นายเฉลิมพงษ์ เชี่ยวสกุล” ทำงานกลางคืน เพราะว่ามวยมันชกกลางคืนตลอด จึงไม่ค่อยได้เจอพ่อเท่าไหร่ แต่ก็รู้ว่าพ่อไปที่สนามมวย
พอโตมาก็เป็นคนที่ชื่นชอบเล่นกีฬา เอาจริง ตอนเด็กไม่เข้าใจนะ ว่ามวยมันสนุกยังไง เวลามาสนามมวยก็ไม่เข้าใจ จนได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา เริ่มได้ดูมวยสากลบ้าง เริ่มเห็นว่ามันสนุก น่าสนใจ ยิ่งดูหนังเรื่องร็อคกี้ ก็ทำให้รู้สึกว่า เออ มวยมันเจ๋งดีนะ
แล้วในยุคนั้นก็จะมี “ไมค์ ไทสัน” หรือ “เขาทราย แกแล็คซี่” เลยทำให้สนใจมวยมากยิ่งขึ้น จริงๆสมัยเด็กๆผมเคยเป็น ผู้เดินนำหน้าขบวนมวย ของเขาทรายด้วยนะ แต่หลังจากนั้นมาก็ไม่ได้มีอะไร จนกระทั่งเรียนจบ ผมก็ทำงานตามที่ได้เรียนมา ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมวยไทย จนพ่อมาเห็นว่าเราเอง
ก็ชื่นชอบกีฬาลองมาทำงานที่นี่ดูไหม เริ่มจากการเป็นผู้พิจารณา รายการกับประชุมจัดลำดับ ดูว่าเขาทำงานกันอย่างไร ก็เข้ามาทำเรื่อยๆ จนหน้าที่มันเพิ่มมากขึ้น จึงลาออกจากงานข้างนอก เข้ามาช่วยแบบเต็มตัว อยู่มา 11 ปี เราก็ได้เห็นว่าเวทีมวยราชดำเนินแห่งนี้ ขาดอะไรและมีอะไร ที่สามารถปรับปรุงได้บ้าง เลยทำให้เข้ามาอยู่ตรงนี้ อย่างเรื่องสถานที่ มันอยู่มานานมาก เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ควรจะปรับให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ และให้ต่างชาติยอมรับได้
เวทีราชดำเนินแห่งนี้ ถือว่าเป็นเวทีที่สร้างนักมวยไทยระดับโลกมาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., พเยาว์ พูนธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, รัตนพล ส.วรพิน, ชนะ ป.เปาอินทร์
น่าสนใจเพิ่มเติม : โหลดเกมส์ บาคาร่าขั้นต่ำ10บาท
อ่านบทความมวยเพิ่มเติม : ชาโด้ สิงห์มาวิน