เจิง มวยไทยล้านนา มวยโบราณแห่งล้านนา ศิลปะป้องกันตัวของชายชาวล้านนา ในสมัยอดีต

เจิง มวยไทยล้านนา ศิลปะการต่อสู้โบราณ ของชาวล้านนา ลูกผู้ชายในกลุ่มชนไทยลาว 

เจิง มวยไทยล้านนา ซึ่งไม่ว่าจะทุกชาติทุกภาษา ก็ย่อมที่จะมี ศิลปะป้องกันตัว ในแบบของตัวเอง ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ประเทศไทยเรา ยังไม่ได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน เหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่แยกเป็นอาณาจักร เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกันอย่างเช่น ภาคเหนือ ก็จะมีอาณาจักรล้านนา ซึ่งได้แก่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน ส่วนทางภาคกลาง ก็จะเป็นอาณาจักรอยุธยา เป็นต้นซึ่งต่างก็มี ความสัมพันธ์กันใน รูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านของ การค้าขาย ศาสนา

และการทำสงคราม ซึ่งความหมายของคำว่า “เจิง” ซึ่งก็จะมีความหมายคือ ชั้นเชิงในการต่อสู้นั่นเอง เพราะการออกเสียง ของชาวล้านนานั้น ตัว ช จะออกเสียงเป็น จ เช่น ช้าง เป็น จ๊าง และ เชิง ก็เป็น “เจิง” นั่นเอง เจิง หรือว่าชั้นเชิง ในการต่อสู้ของ ชาวล้านนานั้น ก็จะมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเรียกชื่อ

ตามอาวุธที่ใช้ เจิงมือเปล่า เจิงหอก เจิงดาบ เจิงง้าว เจิงไม้ค้อนสองหัว หรือเรียกว่าไม้พลอง ซึ่งดูแล้วอาจจะ คล้ายๆกังฟูของจีน ไปเลยก็มี การเรียนเจิงนั้น อ.สนั่น ธรรมธิ ได้กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนต้องหามื้อจั๋นวันดี เป็นวันอุดมฤกษ์ ไปขอเรียนกับครู ที่มีความสามารถ โดยต้องมีการ ขึ้นขันตั้งหรือ

การจัดเครื่องคารวะ คือกรวยดอกไม้ธูปเทียน พลู หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุรา ผ้าขาว ผ้าแดง กล้วย อ้อย มะพร้าว และค่าครูตามกำหนด ครูบางท่านอาจจะ เสี่ยงทายโดยให้ ผู้จะสมัครเป็นศิษย์ นำไก่ไปคนละตัว ครูเจิงคือผู้สอน ฟ้อนเจิงจะขีดวงกลม ที่ลานบ้านแล้วเชือดคอไก่ และโยนลงในวงนั้น

หากไก่ของผู้ใด ดิ้นออกไปตาย นอกเขตวงกลม ก็คือว่าผีครู ไม่อนุญาตให้เรียน หรือครูบางท่าน ก็อาจมอบมีดคมๆ ให้ผู้ที่จะมาเรียนคนละเล่ม แล้วพาไปในป่ารกชัฏ เพื่อดูอุปนิสัยของ แต่ละคนว่ามีความ อดทนมากน้อย แค่ไหนนั่นเอง

เจิง-มวยไทยล้านนา

เจิง มวยไทยล้านนา คืออะไร เป็นศิลปะการต่อสู้แบบไหน?

เจิง คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ของชายชาวล้านนา ซึ่งคำว่าเจิง นั้นเป็นคำในภาษาเหนือ ที่มีความหมายเดียวกัน กับคำว่า เชิง ในภาษาไทยภาคกลาง ก็คือ ชั่นเชิง นั่นเองซึ่งจะหมายถึง ศิลปะการต่อสู้ ที่มักจะทำกันใน งานประเพณีต่างๆ ของคนภาคเหนือ โดยปกติแล้ว ผู้ฟ้อนก็มักที่จะ เป็นผู้ชายและ มักที่จะฟ้อนใน หมู่คนสนิทและ รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่นในงาน บวชลูกแก้ว หรือ บวชเณรน้อย นั่นเองโดย ฟ้อนเข้ากับจังหวะของ วงกลองที่มีอยู่

ภายในงานนั้นๆ หรือที่สามารถ หาได้ในพื้นที่อย่างเช่าน กลองแซะ กลองปู่เจ่ กลองมิงเซิง กลองไชยมงคล กลองสิ้งหม้อง กลองก้นยาว กลองสะบัดชัย ซึ่งเจิงนั้นจะแสดงออก โดยการนำท่าทาง ลวดลายในการ ต่อสู้ของ กระบวนท่าตาม แบบแผนการต่อสู้ ที่ใช้อยู่ในชีวิต ประจำวันหรือ ใช้ในการรบในสงคราม

ทั้งด้วยมือเปล่า หรือด้วยอาวุธ มาร่ายรำประกอบ เข้ากับจังหวะกลอง ด้วยลีลาที่ อ่อนช้อย งดงาม แต่แฝงไว้ด้วยซึ่ง ความแข็งแกร่ง ดุดัน หรือที่เรียกว่า ฟ้อนเจิง เป็นการรวมทั้งการ ฟ้อนมือเปล่า และการป้อนประกอบ กับอาวุธโดย เรียกลักษณะการฟ้อน ตามชื่อของอาวุธนั้นๆ อย่างเช่น ใช้ไม้ฆ้อน

หรือไม่พลอง ประกอบกับการฟ้อน เรียกว่า ฟ้อนเจิงไม้ และการฟ้อนด้วยมือเปล่า ก็จะเรียกว่า ฟ้อนเจิงมือ ซึ่งในการฟ้อนเจิง มักที่จะดำเนินร่วมกับการ ตบบ่าผาบ หรือตบมะผาบ ก็คือการใช้มือ ทั้งสองข้าง ตบไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อ ให้เกิดเสียงดัง ด้วยท่าทางที่ สง่างามราวกับว่า

เป็นการปลุกเสกให้ร่างกาย มีความคงกระพันชาตรี ตามความเชื่อ ของคนในสมัยก่อน โดยในระหว่างที่ ตบมะผาบก็จะ มีการร่ายคาถา ที่เรียนไปด้วยซึ่ง ในปัจจุบันนี้การ ฟ้อนเจิง ที่สมบูรณ์แบบนั้น ก็เรียกว่าหาชม ได้ยากมากแล้ว

ฟ้อนเจิง เป็นการแสดงออกถึงการแข็งแกร่ง ของชายชาวล้านนา

ฟ้อนเจิง ซึ่งเป็นนาฏกรรม ที่สะท้อนรูปแบบ ศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของคนไทยทางภาคเหนือ ที่นำเอาเรื่องราว ของศิลปะป้องกันตัว ซึ่งเมื่อครั้งอดีตผู้ชาย ชาวล้านนามักจะ มีการแสวงหาเรียนรู้ เจิง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการป้องกันภัยให้กับตัวเอง ด้วยรูปแบบและ ลีลาท่าทางในการ แสดงออกที่มีทั้ง

ความเข้มแข็ง สง่างาม ที่ซ่อนเร้นชั้นเชิง อันเป็นแม่ไม้เฉพาะตน ซึ่งสลับท่าทาง ไปมายากในการที่จะ ทำความเข้าใจได้ ฟ้อนเจิงเป็นศิลปะ การฟ้อนที่แสดงให้เห็น ถึงชั้นเชิง ลีลาการต่อสู้ อันเป็นภูมิปัญญา ของบรรพชนไทย มีการต่อสู้ทั้งรุกและรับ หลอกล้อกันอย่างสนุกสนาน ประลองไหวพริบ ปฏิภาณกัน เอาชนะกันอย่างมีชั้นเชิง และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ข่มเหงเอาเปรียบกัน

ศิลปะการต่อสู้ เจิง หรือ ฟ้อนเจิง ในปัจจุบันนี้ที่ยังสามารถหาดูได้ 

การฟ้อนเชิงที่เห็น กันในปัจจุบัน ตามงานวัฒนธรรมต่างๆนั้น เป็นการแสดงที่ สืบทอดมาจาก ศิลปะการต่อสู้เจิง ของชาวล้านนานั่นเอง แต่ผู้แสดงได้เพิ่ม ลีลาการฟ้อนให้มีความ อ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น จนหลายคนมองไม่ออก ว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ ได้อย่างไรและ ในปัจจุบันการ ฟ้อนเชิงจะฟ้อนเข้ากับ วงกลองต่างๆ

เช่น วงกลองปู่เจ่ วงกลองมองเซิง วงกลองสะบัดชัย หรือกลองปู่จา เป็นต้นเพราะว่า กลองเหล่านี้มักจะ ให้จังหวะที่คึกคักเร้าใจ เหมาะแก่การ แสดงออกซึ่งความ แข็งแกร่ง และพละกำลังของชายหนุ่ม แต่ผู้ฟ้อนบางคน ก็นิยมฟ้อนเชิงเข้ากับ วงดนตรีสะล้อซึง โดยเลือกเพลง ที่มีจังหวะช้า-เร็วในตัว

เช่น มอญเก๊าห้า เป็นต้น และส่วนของเครื่องแต่งกาย ของการฟ้อนเชิงนั้น โดยส่วนมากผู้ฟ้อน ที่ฟ้อนตามงานวัฒนธรรมต่างๆ มักจะสวมกางเกงสะดอ เสื้อผ้าฝ้าย ที่เห็นแล้วเป้นเอกลักษณ์นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก : ดูอนิเมะออนไลน์ UFABET

อ่านบทความมวยอื่นๆเพิ่มเติม : มวยไทยกับสุขภาพ