ศิลปะการต่อสู้ ญี่ปุ่น ศิลปะการป้องกันตัว ของญี่ปุ่นหลายชนิด ที่สามารถเป็นทั้งกีฬาและศิลปะที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ศิลปะการต่อสู้ ญี่ปุ่น ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น นั้นด้วยเนื่องจาก เป็นศิลปะที่มีความสวยงาม และสามารถนำไปใช้ได้จริง และยังเล่นได้ ทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว แถมยังสามารถ สร้างความบันเทิง และสร้างสุขภาพ ที่แข็งแรงให้กับ ผู้เล่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ เราเลยจึงจะพา ทุกท่าน
มาทำความ รู้จักกับศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น ว่ามีอะไรแบบไหนบ้าง แต่ละศิลปะ การต่อสู้มีประวัติ ที่มาอย่างไร และมีหลักการเล่น อย่างไรบ้าง รับรองว่าหลายๆคน ที่ชื่นชอบศิลปะการต่อสู้ ต้องชอบมาก อย่างแน่นอนเลยทีเดียว ศิลปะการป้องกันตัว ของญี่ปุ่นหลายชนิด ที่สามารถเป็นทั้ง กีฬาและศิลปะ
ที่ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลาย บางชนิดก็ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อย่างเช่น คาราเต้ เคนโด้ ยูโด ศิลปะการต่อสู้ จีน ซึ่งการเรียนรู้ ศิลปะการป้องกันตัว เหล่านี้ชาวญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเป็นการ ฝึกความแข็งแกร่ง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้เป็นอย่างดี
ยูโด (Judo) ศิลปะการต่อสู้ ญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าใครก็รู้จักอย่างแน่นอน
ยูโด (Judo) เป็นศิลปะป้องกันตัว ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนา มาจากศิลปะป้องกันตัว ยิวยิตสู โดย คาโน จิโกโระ (Kano Jigoro) หรือมีชื่อเต็มว่า โคโดกังยูโด ที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะคือการต่อสู้ กับคู่ต่อสู้ ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่า ด้วยวิธีโอนอ่อนผ่อนตาม หรือเรียกกันว่า หนทางแห่งความนุ่มนวล
ซึ่งจุดเริ่มต้นค วามเป็นมาของยูโด ในประวัติศาสตร์นั้น บุคคลที่มีส่วน สำคัญมากที่สุดก็คือ คาโน จิโกโระ ที่ได้ค้นพบว่า ศิลปะการต่อสู้ ยิวยิตสูแบบดั้งเดิม นั้นมีเทคนิคเป็น อันตรายหลายอย่าง เช่น การจิ้มตา การเตะหว่างขา ดึงผม ซึ่งดูโหดร้าย ป่าเถื่อนจนอาจจะ ทำให้ฝ่ายตรงข้าม ได้รับบาดเจ็บสาหัส
จากการฝึกได้ ดังนั้นจึงได้เริ่ม มีการปรับปรุง แนวคิดในการ ฝึกซ้อมแบบใหม่ ด้วยการยกเลิก เทคนิครุนแรง ทั้งหลายออกไป และเน้นการป้องกันตัว เพื่อความปลอดภัย โดยใช้เทคนิค อย่างการ ล็อคสันหลัง คอ ข้อมือ แล้วเรียกศิลปะ การป้องกันตัวนี้ว่า ยูโด ในปัจจุบันยูโด เป็นทั้งศิลปะป้องกันตัว
และกีฬาสากล ที่มีการผสมผสาน ระหว่างเทคนิค การต่อสู้หลายชนิด เช่นการเหวี่ยง 67 ท่า ท่าทุ่มลง 7 ท่า และท่าล็อคข้อต่อ 9 ท่า เป็นต้น จุดมุ่งหมายในการ ฝึกฝนก็เพื่อบริหาร ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสามารถ ใช่ในการต่อสู้ ป้องกันตัวให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดได้ โดยมีการกำหนด ระดับมาตรฐาน
ความสามารถ ด้วยสายคาดเอว แบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ๆนั่นก็คือ ระดับคิว (Kyu) เป็นระดับก่อนสายดำ ซึ่งหมายถึง นักเรียนและระดับดั้ง ก็คือระดับผู้นำ ซึ่งมีความสามารถสูง อีกทั้งมีการ แยกระดับความเก่ง โดยใช้สีของสายคาดเอว ที่มีรายละเอียด แตกต่างกันไป ในแต่ละประเทศ ที่มีการเล่น กีฬายูโด นั่นเอง
คาราเต้ (Karate) ศิลปะการป้องกันตัวชื่อดัง ประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น
คาราเต้ หรือ คาราเต้โด เป็นศิลปะการป้องกันตัว ประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีการปรากฏขึ้น ครั้งแรกโดยชาวริวกิว หรือจังหวัด โอกินาวาในปัจจุบัน โดยมีที่มาจากจีน แผ่นดินใหญ่ เนื่องจากยุคนั้น เกาะโอกินาวา กับจีนมีการติดต่อ ค้าขายกันอยู่ตลอด วัฒนธรรมหลายๆอย่าง ในโอกินาวาจึง ได้รับอิทธิพล
มาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งคาราเต้ ที่เริ่มมีการ เผยแพร่สู่ เกาะโอกินาวา และพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1921 โดยหลักปรัชญาของคาราเต้ ประกอบด้วย 3K นั่นก็คือ Kihon เป็นท่าพื้นฐาน Kumite เป็นการต่อสู้ และ Kata เป็นการใช้ท่าทาง คล้ายเพลงมวย ภาพลักษณ์ของ
คาราเต้อาจจะดูรุนแรง โดยเฉพาะภาพของ การใช้มือฟันอิฐ ที่เราอาจจะเคยเห็น กันอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว คาราเต้เป็นเรื่องของ ความสงบและ สันติในจิตใจ คือศิลปะรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องใช้ทั้งความคิด จิตใจบวกกับ พลังของร่างกาย ทั้งสามอย่างนี้ จะต้องฝึกฝนและ พัฒนาไปด้วยกัน เอกลักษณ์ของ คาราเต้คือการ
ใช้มือและความ แข็งแกร่งของกำปั้น สันมือ ข้อศอกในการต่อสู้ โดยปราศจากอาวุธ แต่ใช้การดึงพลังจาก ร่างกายมารวม ให้เป็นหนึ่งในการ ต่อสู้โจมตี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญของ คาราเต้ นั้นก็น่าจะเป็น เรื่องของการต่อสู้กับตนเอง เช่นการฝึกยับยั้ง แรงของการโจมตี เพื่อที่จะไม่ให้ ฝ่ายตรงข้าม ได้รับบาดเจ็บ
โดยไม่จำเป็น เรียกว่าเป็นการฝึก เพื่อกำหนดความ รุนแรงของการโจมตี เป็นต้น ปัจจุบันการฝึก คาราเต้มีทั้งใน รูปแบบศิลปะป้องกันตัว และกีฬา ซึ่งแต่ละส่วนล้วนแต่ มีความสำคัญทั้งการ ฝึกเพลงมวยคาตะหรือ การฝึกต่อสู้คุมิเต้ โดยมีการแบ่งระดับ ความสามารถ ด้วยสีของสายโอบิ (Obi) เช่น สีขาว เหลืองเขียว เรียกว่าคิว (Kyu) ส่วนในระดับสายดำ ซึ่งเป็นความสามารถที่สูง ที่สุดจะเรียกว่า ดั้ง (Dan) นั่นเอง
เคนโด้ (Kendo) ศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัว วิถีแห่งดาบ
เคนโด้ เป็นศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวที่ ชื่อมีความหมายตรงตัวว่า วิถีแห่งดาบ มีต้นกำเนิดมาจาก การใช้ดาบของซามูไร ที่สืบทอดกันมายาวนาน นับพันปีตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 789 เคนโด้จะใช้ดาบไม้ไผ่ ในการฝึกฝนกระบวนท่า การต่อสู้ที่เน้นความรวดเร็ว เด็ดขาดและต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะเป็น ศิลปะป้องกันตัวแล้ว
การฝึกเคนโด้ ก็คือการฝึกฝน จิตใจให้เข้มแข็ง โดยมีแนวคิดเพื่อ ทำให้ร่างกาย จิตใจ และคมดาบเป็น อันหนึ่งอันหนึ่งเดียวกัน ปัจจุบันการฝึกเคนโด้ ก็มีกฎกติกาเหมือนกับ กีฬาป้องกันตัว ประเภทหนึ่งสำหรับ ต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว โดยในการฝึกนั้น ปกติจะต้องเริ่มฝึกจาก ท่ารำคาตะ (Kata) ก่อน
และจากนั้นจึงค่อยฝึกแบบ ใส่ชุดเกราะซึ่งเป็น การฝึกต่อสู้ สิ่งสำคัญคือ ผู้ฝึกเล่นเคนโด้จึง ต้องใช้สมาธิสูงมาก และมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว รอบคอบ แม่นยำ เรียกว่าเป็นศิลปะ ที่ต้องอาศัยการ ชิงไหวชิงพริบบวกกับ ประสบการณ์ในการ ฝึกฝนเพื่อความ เชี่ยวชาญทั้งในรูปแบบ ศิลปะป้องกันตัวหรือ ต่อสู้แบบกีฬา