ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง นักมวยฝรั่งหัวใจไทย นักมวยฝรั่งเศสแชมป์เวทีลุมพินี มายืนบนสังเวียนมวยไทย

ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง นักมวยไทยชาวต่างชาติสุดฮอต เจ้าของเข็มขัดแชมป์สนามมวยเวทีลุมพินี 

ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง ราฟาแอล โบอิค (Raphael Bohic) เขาเป็นนักมวยฝรั่งที่มีพรสวรรค์ และสามารถรู้จักใช้ “ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 8” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “The Art of Eight Limbs” ที่อันประกอบด้วย หมัด 2 เท้า 2 เข่า 2 ศอก 2 สามารถออกอาวุธ ได้อย่างครบเครื่อง คล่องแคล่ว ราวกับนักมวยไทย ในร่างชาวต่างชาติ และแล้วพรหมลิขิต ก็บันดาลให้ราฟฟี่เริ่มรู้จักกับ “มวยไทย” เมื่อตอนที่เขาวัย 17 ปี ที่ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นบ้านเกิดของตัวเอง

บวกกับที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากนักมวยหนุ่มคนชาติเดียวกัน “เดเมียน อลามอส” ซึ่งประสบความสำเร็จ เป็นอดีตแชมป์ สนามมวยเวทีลุมพินี ต่อมา 3 ปีให้หลัง ราฟฟี่ตัดสินใจ ทิ้งชีวิตในแดนน้ำหอม ข้ามน้ำข้ามทะเลมายัง ดินแดนขวานทอง เพื่อฝึกวิทยายุทธด้าน มวยไทย ให้เก่งกาจขึ้น โดยมุ่งหน้าสู่ภาคใต้

ที่ค่ายมวย “สิงห์ป่าตอง” ที่จังหวัดภูเก็ต สถานที่ฝึกซ้อมเดียวกับ เดเมียน อลามอส ผู้เป็นไอดอลของเขา และพัฒนาฝีมือจนได้อยู่ใน ระดับแถวหน้าของประเทศไทย เขาสามารถสั่งสม สถิติทั้งสิ้น 90 ไฟต์ (ชนะ 74 แพ้ 15 เสมอ 1) โดยเป็นการชนะน็อกถึง 31 ครั้ง และปัจจุบันราฟฟี่ เขาได้ครองเข็มขัด

แชมป์มวยไทย มาแล้วหลายเส้น ไม่ว่าจะทั้งแชมป์โลก WBC และ WMC รุ่น 140 ปอนด์ ก่อนจะขึ้นแท่นแชมป์สนามมวยเวทีลุมพินี รุ่น 147 ปอนด์ และป้องกันตำแหน่งไว้ได้ หลายต่อหลายครั้ง มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยฝีมือและ คุณสมบัติทั้งหมด ทำให้ราฟฟี่ได้จรดปากกา เข้าร่วมแข่งขันในรายการ

ศิลปะการต่อสู้ ที่มาแรงที่สุดในเวลานี้อย่าง “วัน แชมเปียนชิพ” และมีเป้าหมายสร้างฐานแฟนคลับไปทั้ง 140 ประเทศ และจะขยายเป็น 196 ประเทศทั่วโลกในอนาคต รวมถึงได้สัมผัส ความรู้สึกบนบัลลังก์แชมป์โลก ของวันอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต

ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง

ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง เขามาจากไหนทำไมถึงก้าวขึ้นสู้เจ้าของเข็มขัดแชมป์ 

หนุ่มช่างไฟหัวใจมวยไทย แรนส์ (Rennes) ชื่อเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ ฝั่งตะวันตกตอนเหนือ ห่างจากปารีส 310 กิโลเมตร ที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วิถีชีวิตของผู้คน ที่มีความเรียบง่าย บ้านเมืองที่สะอาดสะอ้านตา จนถูกยกให้เป็น เมืองน่าอยู่ลำดับต้นๆ ของประเทศฝรั่งเศส ราฟฟี่ ใช้ชีวิตในวัยเด็กและ

เติบโตที่เมืองนี้ เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เขาเรียนหนังสือ ควบคู่กับการทำงานเป็น ช่างไฟฟ้า ตามอาชีพที่ครอบครัวทำกันมา ทำงานสองสัปดาห์ และ เรียนสองสัปดาห์ จนถึงอายุ 18 ปี เขาได้เริ่มต้นเรียนมวยไทย ตอนอายุ 17 ปี ซึ่งหากเทียบกับเด็กไทย ก็นับว่าเริ่มต้นช้ามาก แต่เขาคิดว่าไม่ใช่ปัญหาสำหรับเขา

เพราะเขารู้สึกสนุก และเต็มใจจะเหนื่อย เพิ่มเติมในทุกๆวันหลังเลิกงาน จนมวยไทยกลายเป็น ความหลงใหลที่ ราฟฟี่ ถอนตัวไม่ขึ้นเลยทีเดียว หนุ่มน้อยจากเมืองแรนส์ พยายามตระเวนหา รายการชกมวยไทย ในประเทศฝรั่งเศส แต่น่าเสียดายที่ไฟต์มีจัด ไม่บ่อยนักและเว้นช่วงนานเกินไป ทำให้ ราฟฟี่ เริ่มอยากออกเดินทาง ไปสัมผัสประสบการณ์ชกจริง ถูกฝึกสอนจริง โดยชนชาติต้นตำรับกีฬาชนิดนี้ ความเป็นมาของมวยไชยา

“ที่ฝรั่งเศส ปีๆหนึ่ง จะมีรายการชกแค่ 4-5 ไฟต์เท่านั้น แต่ผมเคยได้ยินมาว่าที่เมืองไทย มีรายการต่อยทุกเดือน ผมจึงอยากหาโอกาสมาชกที่ไทย ผมอยากขึ้นเวทีต่อยเยอะๆ ตอนนั้นผมทำงานได้เงิน เดือนละประมาณ 50,000 บาท ก็ค่อยๆเก็บสะสม จนมีเงินก้อนหนึ่งเป็นทุนส่วนตัว สำหรับบินมาเรียนมวยไทย” ราฟฟี่กล่าว

ฝรั่งบนสังเวียนมวยไทย ผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างยาวนาน ทั้งมวยไทย และการฝึกภาษาไทย

เสียงปี่พาทย์อันเร่งเร้า เคล้ากับเสียงกลองชวา จากวงดนตรีปี่กลอง ที่บรรเลงอยู่ข้างๆสนามมวย ท่ามกลางบรรยากาศ เสียงอื้ออึงที่ไม่เคยหยุด ของเซียนมวยและคนดูในเวทีมวยมาตรฐาน “ลุมพินี” เรียกว่าเป็นประสบการณ์ การชกครั้งหนึ่ง ที่น่าตื่นเต้นของ ราฟฟี่ โบอิค นักมวยโนเนมชาวฝรั่งเศสวัย 18 ปี ที่ได้มีโอกาสเดินทาง จากจังหวัดภูเก็ต ขึ้นมาชกบนสังเวียน อันทรงเกียรตินี้ ราฟฟี่กล่าวว่า

“ครั้งแรกที่มาเมืองไทย ผมไปซ้อมอยู่ที่ แฟร์เท็กซ์ ก็ฝึกซ้อมไปได้ระยะหนึ่ง จนหมดเงินเก็บ ก็บินกลับไปทำงาน เก็บเงินและมาเมืองไทยเป็นครั้งที่สอง โดยเข้ามาฝึกซ้อมกับค่ายมวย สิงห์ป่าตอง ที่ จ.ภูเก็ต”

“ความตั้งใจแรก ผมคิดว่าจะอยู่สัก 4 เดือน เงินหมดค่อยกลับฝรั่งเศสไปทำงานต่อ แต่ระหว่างที่ฝึกซ้อมอยู่ สิงห์ป่าตอง ผมได้ขึ้นชกประมาณ 9 ไฟต์ เจอพวกสมัครเล่นเหมือนกัน ชนะน็อกได้หมดเลย ค่ายจึงพาผมไปลองชกลุมพินี 1 ครั้ง”

“พอใกล้ถึงกำหนด ผู้ใหญ่ทางค่ายก็สนใจ อยากให้ผมชกมวยไทยต่อ ผมจึงบินกลับฝรั่งเศส ไปทำเรื่องเอกสารประมาณ 2 สัปดาห์ และตัดสินใจมาใช้ชีวิตอยู่เป็นนักมวยที่ไทยจนถึงทุกวันนี้”

กว่าที่ ราฟฟี่ จะได้ขึ้นไปชกแต่ละไฟต์ เขาต้องผ่านการฝึกซ้อม ที่ยาวนานและยากลำบาก แต่เพราะความกระตือรือร้น ที่อยากเก่งมวยไทย จึงทำให้ ราฟฟี่ พยายามหัดฟัง และพูดภาษาไทย จนสามารถสื่อสารกับเทรนเนอร์ได้ง่าย บวกกับทัศนคติของ ราฟฟี่ ที่เป็นคนที่เปิดรับการเรียนรู้ อยู่ตลอดเวลา

ทำให้ชั้นเชิงการชกของเขา ค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ ยามอยู่บนสังเวียน ไม่ว่าจะประจันหน้ากับ คู่ชกชาวต่างชาติ หรือนักมวยไทย กลายเป็นว่าพอ ราฟฟี่ ชกไปนานเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งมีลักษณะท่าทาง การออกอาวุธ ป้องตัว เหมือนกับนักมวยชาวไทย มากขึ้นตามไปด้วย

100 เข็มบนใบหน้า กับเข็มขัดแชมป์ลุมพินี เป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง

ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง

เพราะสำหรับราฟฟี่เอง เขาไม่มีเทคนิคและ กระดูกมวยติดตัวมาตั้งแต่เด็ก เหมือนนักมวยไทยอาชีพทั่วไป “ราฟฟี่ สิงห์ป่าตอง” จึงต้องชดเชยความบกพร่องนั้น ด้วยการทุ่มเทและ ฝึกซ้อมให้หนักและพยายามให้มากกว่า นักมวยอาชีพ ที่เหนือกว่าเขา รอยแผลเป็นบนใบหน้าของ ราฟฟี่ มีมากกว่า 100 เข็ม

จึงทำให้นี่คือ หลักฐานที่เด่นชัดว่า เขาผ่านอะไรมาบ้าง บนสังเวียนผ้าผืนใบ “ผมชอบมวยไทย เพราะออกอาวุธไม่ต้องเยอะ แต่เต็มที่หนักทุกลูก เป็นกีฬาที่อันตรายมาก อย่างผมเองเย็บมา 100 กว่าเข็มแล้ว เหนือคิ้ว ใต้ตา หางคิ้ว ตรงข้อศอก เคยเย็บมากสุดครั้งเดียว 17 เข็ม ความรู้สึกตอนที่มีแผลแตก มันรู้สึกร้อนๆแต่ไม่ได้เจ็บ ที่เจ็บสุดคือตอนเย็บแผล เจ็บมากกว่าตอนชกเสียอีก แล้วต้องรีบเย็บด้วย เพราะมันยังร้อนอยู่ ถ้าช้าจะเจ็บมากกว่านี้

บางครั้งโดนเตะซี่โครง จนทำให้นอนพลิกตัวไม่ได้เลย อาชีพนักมวยไทย นั้นมันไม่ง่ายเลย ซึ่งเอาจริงๆผมไม่ค่อยคิดหรอก ว่าตัวเองจะเป็นแชมป์ ผมแค่อยากมีรายการชกบ่อยๆ อยากชกให้คนดูประทับใจ ผมดีใจที่เวลาไปสนามมวย มีแฟนมวยคนไทยมาขอถ่ายรูป เข้ามาทักทาย รู้สึกมีความสุขมาก”

ข่าวสารมวยดีๆ : เว็บดูบอลสดฟรี แทงบอลออนไลน์