มวยไทย 5 สาย ความเป็นมาของ มวยไทย ที่สืบทอดมาจากอดีตมาจึงถึงปัจจุบัน
มวยไทย 5 สาย มวยไทยเป็นกีฬา ที่เก่าแก่ของไทย เป็นที่นิยมของ ประชาชนทุกชั้นทุกสมัย ในชั้นต้นมวยไทย ไม่ได้มีกติกาเป็น ลายลักษณ์อักษร แต่นายสนามย่อม ชี้แจงให้นักมวย คู่แข่งขันทราบถึง หลักเกณฑ์ในการ แข่งขันนั้นๆ หลักเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้ เมื่อได้ใช้กันมากขึ้น ก็กลายเป็นประเพณี
และใช้เป็นหลัก เกณฑ์สำหรับ การแข่งขันในเวลาต่อมา ซึ่งมวยไทยในสมัยก่อน นั้นเท่าที่ทราบกันมาก็ จะมีการฝึกฝนอยู่ใน บรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยเรา ได้มีการรบพุ่ง และสู้รบกันกับประเทศ เพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้น ก็ยังไม่มีปืนที่จะใช้ต่อสู้กัน แต่ดาบสองมือและมือเดียว
เมื่อเป็นเช่นนี้การรบ พุ่งก็มีการรบประชิดตัว คนไทยเห็นว่าใน สมัยนั้นการรบ ด้วยดาบเป็นการรบ พุ่งที่ประชิดตัว มากเกินไปบางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามาฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะ คู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้จะได้ เสียหลักแล้วเราจะ ได้เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้ ต่อมาเมื่อในหมู่ทหาร
ได้มีการฝึกถีบเตะ แล้วก็เกิดมีผู้คิดว่า ทำอย่างไรจึงจะ ใช้การถีบเตะนั้นมา เป็นศิลปะสำหรับ การต่อสู้ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะ คิดจะฝึกหัดการ ต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับ การใช้แสดงเวลา มีงานเทศกาลต่างๆ ไว้อวดชาวบ้านและ เป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้นานเข้า
ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะแพร่หลาย และบ่อยครั้งเข้า จึงทำให้ชาวบ้าน มีการฝึกหัดมวยไทย กันมากจนถึงกับ ตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทย นั้นก็ต้องเป็นสำนักดาบ ที่มีชื่อดีมาก่อนและ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน ตํารามวยพระเจ้าเสือ
มวยไทย 5 สาย มีอะไรบ้าง มาทำความรู้จักกับมวยไทย
มวยไทยไชยา ซึ่งประวัติความเป็นมาของ มวยไทยสายไชยา พบว่า มวยไทยสายไชยาจาก อดีตมาจนถึงปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค ในยุคแรก นั้นกำเนิดขึ้นจากพ่อท่าน มาหรือหลวงพ่อมา อดีตนายทหารจากพระนคร สมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา และพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นปฐมศิษย์และมาถึงในยุคเฟื่องฟู ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดฯ ให้มีการชกมวยหน้าพระที่นั่ง
ในงานพระเมรุ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง จำนงทอง มาถึงยุคเปลี่ยนแปลง ในช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นักมวยคาดเชือกชื่อนายแพ เลี้ยงประเสริฐ ชกกับนายเจียร์
พระตะบอง ถึงแก่ความตาย รัฐบาล จึงประกาศให้มีการ สวมนวมแทนการคาดเชือก และในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวทีและพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดบรมธาตุไชยา มรณภาพลงมวยไทยสายไชยาจึงสิ้นสุดลง
และยุคอนุรักษ์ หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยสาย ไชยา เริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยสายไชยา แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลาย
มวยไทยโคราช ประวัติความเป็นมาของ มวยไทยสายโคราช มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะชาวไทยมีการฝึกการต่อสู้ด้วยอาวุธสั้น ประกอบกับศิลปะมวยไทย โดยมีเป้าหมายในการปกป้องประเทศชาติ อีกทั้งโคราชเป็นเมืองหน้าด่านชั้นเอก ที่ต้องทำการรบกับ ผู้รุกรานอยู่เสมอ จึงทำให้ชาวโคราช มีความเป็นนักสู้โดยสายเลือด มาหลายชั่วอายุคน เมื่อบ้านเมืองสงบ มวยไทยจึงพัฒนามาเป็นศิลปวัฒนธรรม
ทางการต่อสู้ป้องกันตัว ประจำชาติไทย และเอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราชนั้นก็จะ พบว่า สวมกางเกงขาสั้นไม่สวมเสื้อ สวมมงคลที่ศีรษะขณะชกและที่ พิเศษที่แตกต่างไปจากมวยภาคอื่นๆ คือ การพันหมัดแบบคาดเชือก ตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะมวยไทยสายโคราช เวลาต่อย เตะวงกว้าง
และใช้หมัดเหวี่ยงควาย รวมไปถึงกระบวนท่าของมวยไทยสายโคราช พบว่า มีการฝึกตามขั้นตอน ฝึกโดยการใช้ธรรมชาติ เมื่อเกิดความคล่องแคล่วแล้วทำพิธียกครู แล้วให้ย่างสามขุมและฝึกท่าอยู่กับที่ 5 ท่า ท่าเคลื่อนที่ 5 ท่า ท่าฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า ฝึกท่าแม่ไม้สำคัญสำคัญ ประกอบด้วย ท่าแม่ไม้ครู 5 ท่า และท่าแม่ไม้สำคัญโบราณ 21 ท่า แล้วก็มีโครงมวย เป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมทั้งคำแนะนำเตือนสติ ไม่ให้เกรงกลัวคู่ตู่สู้
มวยไทยสายลพบุรี
ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายลพบุรี มีวิวัฒนาการและเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญหลายอย่าง ทำให้มวยไทยสายลพบุรี แบ่งช่วงเวลาต่างๆ ตามความสำคัญเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 อยู่ระหว่าง ปีพุทธศักราช 1200–2198 นับเป็นช่วงเริ่มต้นของมวยไทยสายลพบุรี มีปรมาจารย์สุกะทันตะฤๅษี
ที่ได้เป็นผู้ก่อตั้งสำนักขึ้น ที่เทือกเขาสมอคอน เมืองลพบุรี มีลูกศิษย์ชุดสุดท้ายคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ช่วงที่ 2 อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 2199 – 2410 ถือเป็นช่วงสืบทอดของมวยไทยสายลพบุรี ซึ่งมวยไทยสายลพบุรีเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในสมัยนี้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ส่งเสริมมวยลพบุรี อย่างกว้างขวาง มีการจัดการแข่งขัน กำหนดขอบเขตสังเวียนและมีกติกาการชก โดยมีพระพุทธเจ้าเสือ
เอกลักษณ์ของมวยไทยสายลพบุรี พบว่า เป็นมวยที่ชกฉลาด รุกรับคล่องแคล่วว่องไว ต่อยหมัดตรงได้แม่นยำ เรียกลักษณะการต่อยมวยแบบนี้ว่า “มวยเกี้ยว” ซึ่งหมายถึง มวยที่ใช้ชั้นเชิงเข้าทำคู่ต่อสู้โดยใช้กลลวงมากมาย จะเคลื่อนตัวอยู่เสมอ หลอกล่อหลบหลีกได้ดี สายตาดี รุกรับ และออกอาวุธหมัดเท้าเข่าศอกได้อย่างรวดเร็ว สมกับ ฉายาฉลาดลพบุรี
กระบวนท่าของมวยไทยสายลพบุรี พบว่า มี 16 กระบวนท่า ได้แก่ กระบวนท่ายอเขาพระสุเมรุ หักงวงไอยรา ขุนยักษ์จับลิง หักคอเอราวัณ เอราวัณเสยงา ขุนยักษ์พานาง พระรามน้าวศร กวางเหลียวหลัง หิรัญม้วนแผ่นดิน หนุมานถวายแหวน ล้มพลอยอาย ลิงชิงลูกไม้ คชสารถองหญ้า คชสารแทงงา ลิงพลิ้ว
และหนุมานถอนตอ
มวยท่าเสาและพระยาพิชัย
มวยท่าเสา ถือเป็นมวยไทยภาคเหนือ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่ากำเนิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นครูมวยคนแรก แต่จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ทำให้ทราบว่าครูมวยไทยสายท่าเสาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ครูเมฆ เอกลักษณ์ของมวยท่าเสา คือ การจดมวยกว้างและให้น้ำหนักตัวไปทางด้านหลัง เท้าหน้าสัมผัสพื้นเบาๆ
ทำให้ออกมวยได้ไกล รวดเร็ว และรุนแรง สมกับฉายา “ไวกว่าท่าเสา” ส่วนกลยุทธ์มวยพระยาพิชัยดาบหักเป็นทั้งมวยอ่อนและแข็ง สามารถรุกรับตามสถานการณ์ รู้วิธีรับก่อนรุก เรียนแก้ก่อนผูก เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและคู่ต่อสู้
กระบวนท่าของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัยนั้น พบว่า มีกระบวนท่าการชก 15 ไม้ การเตะ 10 ไม้ การถีบ 10 ไม้ การตีเข่า 10 ไม้ และการศอก 10 ไม้ ส่วนในเรื่องของระเบียบประเพณีของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย ต้องมีการขึ้นครูหรือยกครู การไหว้ครูประจำปี การครอบครู และการรำไหว้ครูก่อนชก
มวยพลศึกษา
มวยพลศึกษา ได้ก่อกำเนิดมาพร้อมกับการจัดตั้งสามัคยาจารย์สมาคม เพื่อจัดเป็นสถานที่การออกกำลังกาย สำหรับประชาชนทั่วไป และได้มีการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามวยไทยสายพลศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ อาจารย์สุนทร ทวีสิทธิ์ หรือ อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยที่มีชื่อเสียง
มีความเชี่ยวชาญหมัด ซึ่งศึกษามาจากหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล ซึ่งได้ทรงศึกษาการชกมวยสากลของประเทศไทย จนได้ชื่อว่าเป็นบิดามวยสากลของประเทศไทย นอกจากหมัดแล้วยังเน้นความเร็ว จังหวะเข้า- ออกที่คล่องแคล่วว่องไว เรียกได้ว่ามวยพลศึกษาเป็นมวยครบเครื่อง สมกับฉายา “ครบเครื่องพลศึกษา”
อ่านบทความมวยเพิ่มเติม >> ตํารามวยพระเจ้าเสือ
ขอบคุณข่าวสารมวยดีๆจาก : ดูอนิเมะออนไลน์ แทงบอลยูโร