มวยไทย ประวัติมวยไทยที่มาอย่างยาวนาน ศิลปะการต่อสู้ที่อันตรายที่สุดในโลก

มวยไทย ประวัติความเป็นมาของมวยไทยที่มีมาเนิ่นนาน

มวยไทย มวยไทยกับคนไทย จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่ม มองโกเลีย ลักษณะร่างกาย โดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม

เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ เป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรประชาชน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทย

มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้น ชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทย ควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการ จนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหว ที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่ง ดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 2. มวยไทย ในสมัยกรุงสุโขทัย มวยไทยสด

สมัยกรุงสุโขทัย เริ่มประมาณ พ.ศ.1781 – 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงคราม กับประเทศอื่นรอบด้าน จึงมีการฝึกทหาร ให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกาย เข้าช่วยในการรบระยะประชิด ตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรบ ….หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัย มักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริม ลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับ ราชการทหาร และถือเป็นประเพณีอันดีงาม

 

มวยไทย

 

มวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่ม ประมาณ พ.ศ.1988 – 2310 ระยะเวลา 417 ปี บางสมัยก็มีศึก กับประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า และเขมร ดังนั้นชายหนุ่มสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงต้องฝึกฝนความชำนาญ ในกานต่อสู้ด้วยอาวุธและศิลปะป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยมีครูผู้เชี่ยวชาญทางการต่อสู้เป็นผู้สอน การฝึกเริ่มจากในวังไปสู่ประชาชน สำนักดาบพุทธไทสวรรค์

เป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียง สมัยอยุธยา มีผู้นิยมไปเรียนมาก ซึ่งในการฝึกจะใช้อาวุธจำลอง คือดาบหวายเรียกว่า กระบี่กระบอง นอกจากนี้ยังต้องฝึก การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เรียกว่า มวยไทย ควบคู่กันไปด้วย ในสมัยนี้วัด ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญ และวิชาปฏิบัติในเชิงอาวุธ ควบคู่กับมวยไทย อีกด้วย มวยไทย ประวัติ

มวยไทย สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 – 2147)

พระองค์นั้น ทรงเลือกคนหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์มาทรงฝึกหัดด้วยพระองค์เอง โดยฝึกให้มีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นตนเอง ใช้อาวุธได้ทุกชนิดอย่างชำนาญ มีความสามารถในศิลปะการต่อสู้มวยไทยดีเยี่ยม และพระองค์ทรงตั้ง กองเสือป่าแมวมอง เป็นหน่วยรบแบบกองโจร ซึ่งทหารกองนี้เอง มีบทบาทมากในการกอบกู้เอกราชจากพม่าในปี พ.ศ.2127

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2147 – 2233)  สภาพบ้านเมืองสงบร่มเย็น มีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงให้การส่งเสริม และสนับสนุนกีฬาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมวยไทยนั้น นิยมกันมากจนกลายเป็นกีฬาอาชีพ มีค่ายมวยเกิดขึ้นมากมาย มวยไทยสมัยนี้ ชกกันบนลานดิน โดยใช้เชือกเส้นเดียว กั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้ง หรือน้ำมันดินจนแข็งพันมือ เรียกว่า คาดเชือก หรือ มวยคาดเชือก นิยมสวมมงคลไว้ที่ศีรษะ

และผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขนตลอดการแข่งขัน การเปรียบคู่ชกด้วย ความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คำนึงถึงขนาดร่างกายลาอายุ กติกาการชกง่ายๆ คือ ชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ ในงานเทศกาลต่างๆ ต้องมีการจัดแข่งขันมวยไทยด้วยเสมอ มีการพนันกันระหว่างนักมวย ที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจาก อีกหมู่บ้านหนึ่ง 8 นัก มวยไทย

สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีนายขนมต้มมากรอบกู้มวยไทยขึ้นมาอีกครั้ง 

หลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ มีนักมวยมีชื่อเสียงสองคน ดังนี้ นายขนมต้ม เป็นเชลยไทย ที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรด ให้จัดงานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทย ฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า

แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ซึ่งนายขนมต้ม ชกชนะนักมวยพม่าถึง ๑๐ คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดน เป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบเสมือน “บิดามวยไทย” และวันที่ ๑๗ มีนาคม ถือว่า เป็นวันมวยไทย

 

มวยไทย

 

มวยไทย ประวัติศาสตร์ของมวยไทย

ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของมวยไทยเริ่มมี และใช้กันในการสงคราม ในสมัยก่อน ในปัจจุบัน มีการดัดแปลงมวยไทย มาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า “เลิศฤทธิ์” ซึ่งแตกต่าง จากมวยไทยในปัจจุบัน ที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกัน การอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตี ทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก

และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย) มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็น แต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีคำกล่าวไว้ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา”

สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงธนบุรีเริ่ม พ.ศ.๒๓๑๐ – ๒๓๒๔ ระยะเวลา ๑๔ ปี

บ้านเมืองอยู่ระหว่าง การฟื้นฟูประเทศ หลังจากการกู้ อิสรภาพคืนมาได้ การฝึกมวยไทยสมัยนี้ เพื่อการสงคราม และการฝึกทหารอย่างแท้จริง ในยุคนี้ มีนักมวยฝีมือดีมากมาย เช่น นายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ส่วนนักมวย ที่เป็นนายทหาร เลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก นายทองดี ฟันขาว หรือพระยาพิชัยดาบหัก มวยไทย2000

การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรี นิยมจัดนักมวยต่างถิ่น หรือลูกศิษย์ต่างครู ชกกัน กติกาการแข่งขันยัง ไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงแต่ว่าชกแบบไม่มีคะแนน จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง จะยอมแพ้ไป สังเวียนเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด นักมวยยังชกแบบคาดเชือกสวมมงคล และผูกประเจียด ที่ต้นแขนขณะ ทำการแข่งขัน

บทความมวยที่น่าสนใจเพิ่มเติม >> มวยสากล , ข่าวมวย

ติดต่อเรา : คลิ๊ก!!