มวยสากลในไทย ต้นกำเนิดมวยสากล มวยสากลในประเทศไทย

มวยสากลในไทย ศิลปะการต่อสู้ ที่มีการแข่งขันตั้งแต่สมัยกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณ

มวยสากลในไทย กีฬามวยสากล ได้แพร่หลายเข้าสู่ ทวีปเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผ่านทางสหรัฐอเมริกา เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ ทวีปเอเชียหลังจาก สงครามสหรัฐอเมริกา-สเปนเมื่อ พ.ศ. 2441 ผลของสงคราม สเปนต้องยกฟิลิปปินส์ ให้สหรัฐอเมริกา มวยสากลแพร่จากสหรัฐ เข้าสู่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะที่มะนิลา มีนักมวยจากฟิลิปปินส์ ไปชกที่สหรัฐมาก โดยเฉพาะที่ฮาวาย จากนั้นจึงแพร่หลาย ต่อไปยังญี่ปุ่นวงการมวย ในเอเชียซบเซาในช่วง

สงครามโลกครั้งที่ 2 และฟื้นตัวอีกครั้งหลังสงคราม มวยสากลเป็นที่นิยม ในญี่ปุ่นหลังสงคราม การชกมวยสากลระดับ นานาชาติครั้งแรกใน ญี่ปุ่นเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2467 ที่โตเกียวโดยเตอิโกะ โอกิโน ขึ้นชกกับยัง กอนซาเลซจากฟิลิปปินส์ ผลการชกปรากฏว่าเสมอกัน ในประเทศญี่ปุ่นมีการ มวยไทย 5 สาย

ตั้งสมาคมมวยแห่งญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2489 และเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการ มวยแห่งญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2495 ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ก็มีการจัดตั้ง องค์กรขึ้นดูแลกีฬามวยสากล อย่างเป็นทางการ ส่วนในระดับภูมิภาค จึงทำให้มวยสากล นั้นที่เป็นศิลปะการต่อสู้ ที่มีมาแต่โบราณ โดยเป็นการต่อสู้

ด้วยมือเปล่าของ ทหารในสนามรบ และกลายเป็นเกมกีฬา ในการแข่งขันโอลิมปิค ยุคโบราณ โดยที่นักมวยในยุคนั้น ไม่มีการจำกัดน้ำหนัก ไม่สวมเครื่องป้องกันตัว และไม่จำกัดว่าต้อง ใช้ได้เพียงหมัด สามารถกัดหรือถอง คู่ต่อสู้ได้ โดยไม่มี กติกามากนัก เพียงแต่นักมวยทั้งคู่

ต้องถอดเสื้อผ้าให้หมดทั้งตัว เพื่อไม่ให้ซ่อนอาวุธเอาไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2236 เจมส์ ฟิกก์ (James Figg) ผู้ชนะเลิศการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ชาวอังกฤษได้กำหนด กฎกติกาในการชก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น บิดาแห่งมวยสากล และต่อมาก็ได้มี ผู้สร้างนวมขึ้นมา

แต่ยังไม่มีการใช้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2432 จอห์น แอล ซัลลิแวน (John L. Sulrivan) ผู้ชนะเลิศการชิงแชมป์มวย ด้วยมือเปล่า ประกาศว่าจะไม่ขอ ขึ้นชกด้วยมือเปล่า อีกต่อไป เป็นจุดเริ่มต้นของการ ชกด้วยการสวมนวม และได้พัฒนาจนมา เป็นเกมกีฬาที่มีกติกา ชัดเจนเช่นในปัจจุบัน

มวยสากลในไทย

มวยสากลในไทย นั้นได้เข้ามาเป็นที่นิยม ในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่

มวยสากลหรือ ที่เรียกในยุคแรกว่า มวยฝรั่ง ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2455 โดยได้แบบอย่างจาก ประเทศอังกฤษ ผู้นำมาเผยแพร่คือ หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ครั้งแรกนำมาเผยแพร่ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และแพร่ต่อไปยังโรงเรียนต่างๆ มีการจัดแข่งขันมวย นักเรียนซึ่งเป็นแบบมวยสากลสมัครเล่นต่อมา พระยาคฑาธรบดีสีหบาลเมือง เช่าพื้นที่ด้านศาลาแดง ของสวนลุมพินีจัดให้ มีการละเล่นต่างๆ

เรียกว่าสวนสนุก มีการสั่งนักมวยสากล จากต่างชาติมาชกโชว์เรียกว่า เต็ดโชว์ เมื่อเป็นที่นิยมจึง มีการคัดเลือกนักมวยสากล ชาวไทยข้นชกกับ นักมวยต่างชาติ เหล่านั้นในแบบ มวยสากลอาชีพ การชกระหว่าง นักมวยสากลชาวไทย กับต่างชาติมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2472

ในวันนั้น สุวรรณ นิวาศวัต นักมวยไทยชื่อดังขึ้นชกเป็นคู่แรก แพ้น็อค เทอรี่ โอคัมโป (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ส่วนคู่ที่ 2 โม่ สัมบุณณานนท์ ชนะน็อค ยีซิล โคโรนา (ฟิลิปปินส์) ยก 4 และจากนั้นกีฬามวยสากล เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น มีนักมวยสากล ชาวไทยชกชนะสร้าง ชื่อเสียงอยู่เนืองๆ

เช่น สมพงษ์ เวชสิทธิ์ เป็นแชมป์มวยสากล ของสิงคโปร์ ผล พระประแดงเป็น รองแชมป์โลกคนแรก จำเริญ ทรงกิตรัตน์ เป็นแชมป์ OPBF คนแรกและขึ้นชิงแชมป์โลก เป็นคนแรกด้วยแต่ไม่สำเร็จ แชมป์โลกชาวไทยคนแรกคือ โผน กิ่งเพชร ซึ่งได้ครองแชมป์เมื่อ พ.ศ. 2503 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ประเทศไทยมีแชมป์โลกทั้งสิ้น 37 คน และในจำนวนนี้ ก็มีนักมวยที่สร้าง สถิติโลกและเอเชียมากมาย

กติกาการชกของ มวยสากล นั้นมีอะไรบ้าง

เริ่มจากการชั่งน้ำหนัก ให้กระทำภายในเวลา 9.00-12.00น. ถ้าน้ำหนักเกินมีสิทธิ์ ไปวิ่งลดน้ำหนักแล้ว กลับมาชั่งได้อีก ภายในเวลาที่กำหนด การแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมงเต็มหลังจากกำหนด เวลาชั่งน้ำหนักสิ้นสุดลง

และจำนวนยกในการแข่งขัน ถ้าเป็นมวยสมัครเล่นอาจชก 3 ยก (บางแห่งอาจชกถึง 5 ยก) ยกหนึ่งใช้เวลา 3 นาที หยุดพักระหว่างยก 1 นาที นักมวยอาชีพอาจชก 10 12 หรือ 15 ยกเลยทีเดียว แต่ระยะหลังไม่ค่อยชก 15 ยกกันแล้วเพราะนักมวยเหนื่อย ชกไม่ไหว และทางกรรมการนั้น การชกมวยสมัครเล่นมีกรรมการ 5 คน มวยสากลมี 3 คน บางหนกรรมการห้ามบนเวที ก็มีสิทธิ์ให้คะแนนด้วยเช่นกับ

การตัดสนแพ้-ชะ ของมวยสากลนั้นเป็นอย่างไรวันนี้เราจะมาบอก

ซึ่งการตักสินชนะโดยน็อกเอาต์ นั่นก็คือ เมื่อทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงกับพื้นเวที หรือยืนพับหมดสติอยู่กับเชือก ไม่สามารถที่จะชกหรือ ป้องกันตัวต่อไปได้อีกภายใน 10 วินาที คือกรรมการได้นับ 1 ถึง 10 แล้ว กรณีที่นักมวยผู้ล้ม สามารถลุกขึ้นได้ก่อน ที่กรรมการจะนับ 10 และพร้อมที่จะชกต่อไปได้ กรรมการจะนับต่อไปจนถึง 8 เสียก่อนจึงให้ทำการชกต่อ

และการชนะแบบเทคนิเกิลน็อกเอาต์ หมายถึง ทำให้คู่ต่อสู้ตกเป็นฝ่าย เสียเปรียบอย่างมาก และกรรมการผู้ชี้ขาด เห็นว่าไม่มีทางจะเอาชนะได้ หรือนักมวยคนใด ไม่สามารถจะชกต่อไปได้อีก ภายหลังที่ได้หยุดพักระหว่างยกแล้ว หรือถ้านักมวยได้รับบาด เจ็บมีแผลฉกรรจ์ ผู้ชี้ขาดเห็นว่าถ้าชกต่อไปจะ เป็นอันตรายร้ายแรง สำหรับกรณีนี้ กรรมการอาจปรึกษา นายแพทย์สนามก่อน

และในการให้คะแนน ยกหนึ่งนั้นจะมี 10 คะแนน เมื่อหมดยกกรรมการจะให้ คะแนนแก่นักมวยที่ชกดีกว่า 10 คะแนน และให้คะแนนผู้เสียเปรียบ ลดน้อยไปตามลำดับความเสียเปรียบ ถ้าชกได้สูสีกันให้คนละ 10 คะแนน นอกจากนั้นยังมีหลักเกณฑ์พอสรุปได้ดังนี้ เมื่อกรรมการเตือนนักมวยคนใดที่ทำฟาวล์

ให้หักคะแนนผู้นั้น 1 คะแนน โดยให้สัญญาณมือ แก่กรรมการผู้ให้คะแนน ผู้ชนะที่ชกได้จะแจ้งทั้งยก และชกคู่ต่อสู้ล้ม 1 ครั้ง ถึงนับหรือชกข้างเดียวจะได้รับ 10 คะแนน ผู้แพ้จะได้ 8 คะแนน และหากผู้ชนะที่ชกข้างเดียว ทั้งยกและยังชกคู่ต่อสู้ล้ม ถึงนับมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป จะได้รับ 10 คะแนน ผู้แพ้จะได้ 7 คะแนนนั่นเอง

นักมวยสากล ที่สร้างสถิติและชื่อเสียงได้มีใครกันบ้าง

  • โผน กิ่งเพชร เป็นแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท 3 สมัย คนแรก
  • แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นคนแรกที่ชกมวย 3 ครั้งแล้วได้เป็นแชมป์โลก
  • เขาทราย แกแล็คซี่ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นสถิติโลกในรุ่น 115 ปอนด์
  • เขาทราย แกแล็คซี่ และ เขาค้อ แกแล็คซี่ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่แรกของโลก
  • ชนะ ป.เปาอินทร์ และ สงคราม ป.เปาอินทร์ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่ที่สองของโลก ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ยังมีเพียง 2 คู่ในโลกเท่านั้น
  • พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในรุ่น 112 ปอนด์ และป้องกันแชมป์โลกรุ่นนี้ด้วยการชนะน็อคเร็วที่สุด

อ่านบทความมวยเพิ่มเติม >> มวยไทย 5 สาย , ข่าวบอล

ขอบคุณข่าวสารมวยสากลดีๆจาก : ดูบอล123 แทงบอลยูโร