มวยคาดเชือก มวยไทย ที่มีการชกอันรุนแรง อาวุธหนักหน่วง บางครั้งชกกันอาจจะทำให้ถึงตายได้

มวยคาดเชือก มวยไทยโบราณ ที่เอาเชือกพันมือแทนนวมในสมัยก่อน ทำให้การชกรุนแรงมาก

มวยคาดเชือก มวยในสมัยก่อนนั้น ก็จะชกกันด้วยมือเปล่าๆ และยังไม่มีการคาดเชือก อย่างช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น และในอยุธยาตอนปลาย การชกกันด้วย การคาดเชือก ก็คือการใช้เชือก หรือด้ายดิบนำมาพันมือ มาจนถึงศอก จนบางครั้งเอง การชกของ มวยคาดเชือกนั้น ก็สามารถอาจถึงตายได้

เพราะว่าในสมัย รัตนโกสินทร์ได้มี เวทีมวยที่จัด การแข่งขันกัน เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย อย่างเช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการชกมวย ในสมัยนั้นเอง ก็ยังคงมีการ คาดเชือกอยู่เหมือนเดิม ซึ่งนักมวยที่จะ ขึ้นชกจะต้องพันหมัด ด้วยเชือกจนแข็ง และผูกเครื่องราง ของขลังตามความเชื่อ

ของแต่ละคน ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับ การตกลงกันก่อนชก เพราะว่าก่อนที่ จะขึ้นชกกัน นักมวยต้องมาซ้อม ให้นายสนามดูก่อน ถ้ามีฝีมือที่ใกล้เคียงกัน และทั้งคู่พอใจ ที่จะขึ้นชกกัน จึงถือว่าได้คู่ การต่อสู้จะชกกัน จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะยอมแพ้หรือลุกไม่ขึ้น ฉะนั้นก็จะถือว่าเสมอกัน ซึ่งอาจจะชกกันใหม่

ในคราวต่อไปแต่ ถ้ายังไม่หายข้องใจ การชกมวยแบบนี้ จะเน้นไปทางชั้นเชิง มากกว่าพละกำลัง และในส่วนของ สนามแข่งขันก็จะ เป็นสนามหญ้าหรือลานวัด มีเชือกกั้น 1 เส้น มีกรรมการห้าม เพื่อจับนักชกที่ล้ม ขึ้นมาชกใหม่ และห้ามไม่ให้ซ้ำเติมคนล้ม ซึ่งในงานเผาศพ ของผู้ที่มีฐานะในสมัยก่อน นิยมให้มีมวยชกทั้งหมด 7 – 8 คู่

มวยคาดเชือก

มวยคาดเชือก นักมวยเอกมวยคาดเชือก มีใครบ้าง และจัดขึ้นที่ไหนเป็นครั้งแรก

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี ได้มีการเริ่มจัด การแข่งขัน มวยไทยอาชีพ ครั้งแรกขึ้นที่ สนามมวยสวนกุหลาบ ต่อมาจึงได้เกิด สนามมวยอื่นๆขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สนามมวยท่าช้าง หลักเมือง สวนเจ้าเชตุ เสือป่า สวนสนุก เจ้านายในสมัยนั้น โปรดการเลี้ยง นักมวยและเสาะหา

นักมวยฝีมือดีมาเข้าสังกัด จึงได้มีนักมวย จากหัวเมืองเข้ามาชก ในกรุงเทพเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีนักมวยเอกคือ หมื่นชงัดเชิงชก กับ โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ และทาง ม.ร.ว. มานพ ลดาวัลย์ มีนักมวยเอกคือ บังสะเล็บ ศรไขว้ ในครั้งนั้นยังได้ มีการคัดเลือก

นักมวยเอกขึ้นชก หน้าพระที่นั่งและ มีนักมวยได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์ เช่น หลวงไชยโชกชกชนะ, หมื่นมวยมีชื่อ, หมื่นมือแม่นหมัด และ หมื่นชงัดเชิงชก นั่นเอง แต่ในปัจจุบันนี้เอง การชกแบบ มวยคาดเชือก ยังมีชกกันอยู่ใน ประเทศพม่า ในประเทศไทยเอง จะมีเพียงการแสดง และมีการชกในบางเทศกาล

เช่น การชกมวยคาดเชือก ประเพณีไทย-พม่า ในเทศกาลสงกรานต์ ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แต่อย่างไรก็ตาม ในการชกนั้นจะ ใช้กติกาแบบพม่า ไม่ได้ใช้กติกาแบบมวยไทย แต่อย่างใด

ทำไมประเทศไทยถึงยกเลิก ไม่ให้มีการชกแบบมวยคาดเชือกในปัจจุบัน

การยกเลิกการ ชกมวยคาดเชือก และเปลี่ยนจากการ คาดเชือกมาเป็นการ สวมนวมแทนนั้น เพราะว่ามีการชกกันถึงตาย ซึ่งในครั้งนั้น นายเจียร์ นักมวยชาวเขมร จากพระตะบอง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้าน คงกระพันชาตรี เพราะเคยชกคนตายมาแล้ว เข้ามาเปรียบมวยในกรุงเทพ พระชลัมภ์พิสัยเสนีย์

จึงเสนอนาย แพ เลี้ยงประเสริฐ ขึ้นชกด้วย ซึ่งการชกก็มีขึ้นที่ สนามหลักเมือง ของพระยาเทพหัสดินทร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 และเมื่อถึงยกที่ 3 นายแพใช้หมัดคู่ หรือแม่ไม้ หนุมานถวายแหวน ของสำนักบ้านท่าเสา ชกนายเจียร์จนชะงัก และเข้าซ้ำจนนายเจียร์ ทรุดลงกับพื้น

และไม่ลุกขึ้นมาอีกเลย จนสิ้นใจขณะที่ นำส่งโรงพยาบาล และแม้ว่าในครั้งนั้น นายแพไม่มีความผิด ตามกฎหมาย เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ ในครั้งนั้นระบุว่า การตายที่เกิดขึ้นจาก การชกมวยที่ ต่างฝ่ายต่างสมัครใจ มาชกกันเองนั้น ถือว่าไม่มีความผิด ดังที่เคยทีบัญญัติไว้ ในกฎหมายตราสามดวงว่า

นักชกทั้งสองเป็น เอกจิตเอกฉันท์ตีมวยด้วยกัน และผู้หนึ่งต้องเจ็บปวด หักโข้นถึงแก่มรณภาพ ท่านว่าหาโทษมิได้ ตลอดจนผู้ยุยงตกรางวัล เพราะเหตุจะได้มี จิตเจตนาให้สิ้นชีวิตก็หามิได้ เป็นกรรมของ ผู้ถึงมรณภาพเอง แต่ก็เป็นเหตุให้ กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าการชก แบบคาดเชือกนั้น มึความรุนแรงเกินไป

จึงประกาศห้าม ชกมวยคาดเชือก ทั่วราชอาณาจักร ให้สวมนวมตาม แบบมวยสากลแทน และสวมถุงเท้าด้วย การชกมวยคู่แรก ที่ชกแบบสวมนวม คือการชกระหว่าง คำเหมย เมืองยศ จากลำปางกับ นพ ชมศีเมฆ นักมวยจากพระนคร แต่การสวมถุงเท้า ก็ทำให้เตะไม่สะดวก นักมวยมักลื่นล้ม จึงยกเลิกไป แต่ยังมีการสวมนวม มาจนถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง

ไม้มวย เชิงมวย เป็นสิ่งสำคัญของแม่ไม้มวยไทย ศิลปะชกมวยไทย

ไม้มวย เรียกว่าเป็นการ ผสมผสานของ การใช้หลักพื้นฐาน ของศิลปะการต่อสู้ เข้ากับท่าร่าง และเชิงมวย ถ้าใช้ในทางรับเรียกว่า ไม้รับ แต่ถ้าหากใช้ในทางรุก เรียกว่า ไม้รุก ซึ่งไม้มวยจะแบ่ง ออกเป็นแม่ไม้ ลูกไม้และไม้เกร็ด แม่ไม้ ก็คือการปฏิบัติการหลัก ที่เป็นแม่บทของการ ปฏิบัติการรุกและรับ

ซึ่งมีการเกี่ยวข้องกับ องค์ประกอบ 3 ประการ ก็คือกำลัง พื้นที่ที่ใช้กำลัง และจังหวะในการใช้กำลัง และ ลูกไม้ ก็คือการปฏิบัติการรอง ที่แตกย่อยมาจากแม่ไม้ ซึ่งได้มีการแปรผัน แยกย่อยไปตามการ พลิกแพลงของท่าร่าง และเชิงมวยที่ นำมาประยุกต์ใช้ซึ่ง เชิงมวย ก็จะเป็นท่าทาง ของการใช้นวอาวุธ ในการต่อสู้ แบ่งออกเป็นเชิงรุก และเชิงรับซึ่ง เชิงมวยนี้ถือว่า เป็นพื้นฐานสำคัญ ในศิลปะมวยไทยของเรา

เสน่ห์ของมวยคาดเชือก ถึงแม้ว่าจะยกเลิกไม่ให้มีการชกแล้ว แต่ก็ยังเป็นชื่อเสียงของเป็นเทศไทย

ในอดีตมวยไทยนั้น ก็ชกกันด้วยมือเปล่า หรือใช้ด้ายดิบ ที่เรียกว่าคาดเชือก จึงสามารถใช้ มือในการจับ หัก บิด ทุ่ม คู่ต่อสู้ได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง เป็นอย่างมากในการต่อสู้ มากกว่าการใช้พละกำลัง เพียงอย่างเดียว จึงได้มีการเกิดไม้มวยมากมาย แต่เมื่อมวยไทย ได้พัฒนาเป็นกีฬามากขึ้น ก็มีการออกกฎกติกาต่างๆ

เพื่อป้องกันอันตราย ที่จะเกิดขึ้นแก่นักมวย และตัดสินได้ง่าย ไม้มวยที่มีมาแต่อดีต บางไม้จึงไม่สามารถ ที่จะนำมาใช้ในการแข่งขันได้ และบางไม้นักมวยก็ ไม่สามารถใช้ได้ถนัด เนื่องจากมีเครื่อง ป้องกันร่างกายอยู่มากมาย จึงทำให้ม้มวยบางไม้ ถูกลืมเลือนไปในที่สุด

ข้อมูลข่าวสารมวยไทยดีๆจาก : ดูบอล123 แทงบอล

อ่านบทความมวยอื่นๆเพิ่มเติม : เจิง มวยไทยล้านนา