ตํารามวยพระเจ้าเสือ ตำรามวยไทย ของพระเจ้าเสือที่ทรงพระปรีชาสามารถเกี่ยวกับมวยไทย
ตํารามวยพระเจ้าเสือ มวยไทยนั้น ไม่มีปรากฏในสมัยใด ซึ่งจะมีเพียงตำนาน ที่ได้มีการ กล่าวขานกันมาว่า เป็นศิลปะการต่อสู้ เพื่อป้องกันตัว มาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย เพื่อที่จะใช้ ในการป้องกัน อาณาจักรของไทยเรา ซึ่งจะเป็นต่อสู้ของ หมัด เท้า ศอก แขน ขา ศีรษะ ที่ได้ถูกคิดค้น และกลั่นออกมา จากมันสมองของ บรรพชนชาวไทย จนมวยไทยนั้น ได้เป็นศาสตร์ที่ มีหลักสูตรเฉพาะตัว เช่นเดียวกันกับ ศิลปะศาสตร์ด้านอื่นๆ ซึ่งมวยไทยนั้น
ไม่ได้มีความนิยมชมชอบ เพียงแต่แค่ในประเทศไทย เราเท่านั้น มวยไทย ยังได้รับความสนใจ จากนานาชาติ อย่างมากยิ่งใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศโซนยุโรป และทั่วโลก ซึ่งเป็นกีฬาที่สร้าง ชื่อเสียงให้กับ ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับ มวยไทย และหน่วยงานภาพ ต่างๆได้มีการ ผลักดันให้มีการสถาปนา “วันมวยไทย” โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ของทุกๆปี จะจัดให้เป็นวันมวยไทย ซึ่งเป็นวันที่ตรงกัน วันเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
ของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีพระปรีชาสามารถ ด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ และเป็นพระมหากษัตริย์ เพียงพระองค์เดียว ที่เสด็จออกไป ชกมวยกับสามัญชน ตามบันทึกในพงศาวดาร (ฉบับพระราชหัตเลขา พ.ศ.๒๕๔๒) ที่ได้มีการกล่าวว่า
พระเจ้าเสือนั้น ทรงแต่งกายแบบชาวบ้าน เสด็จทางน้ำพร้อม เรือตามเสด็จ ไปขึ้นที่ตำบลตลาดกรวด ช่วงนั้นกำลังมีงาน มหรสพและมี ผู้คนไปเที่ยวชมงาน และมีการละเล่น มากมายหลายอย่าง และพระองค์ได้เสด็จ ไปยังสนามมวยและ ให้นายสนามจัดหาคู่ชกให้ โดยให้คนประกาศ กับประชาชนทราบว่า
พระองค์เป็นนักมวย มาจากเมืองกรุง ถึงทำให้ประชาชน ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะสมัยนั้น นักมวยในเมือง กรุงศรีอยุธยา นั้นได้มีชื่อเสียงมาก นายสนามจึงได้จัด นักมวยที่มีฝีมือ เท่าที่มีอยู่ มาเป็นคู่ชก กับ พระเจ้าเสือ ถึง 3 คนซึ่งแต่ละคนนั้น ก็เป็นนักมวยที่มีฝีมือดี
แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และความชำนาญ ในศิลปะมวยไทย ที่พระองค์ได้ทรง ฝึกหัดและศึกษา มาจากสำนักมวย หลายสำนัก จึงทำให้พระองค์ สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทั้ง 3 คนได้ และได้รับรางวัล เป็นเงินหนึ่งบาท ส่วนผู้แพ้ได้สองสลึง ซึ่งพระองค์ทรง พอพระราชหฤทัย อย่างมากกับการได้ชกมวย ในคราวนั้นอยู่ไม่น้อย
ตํารามวยพระเจ้าเสือ 5 ท่ามวยโบราณ ในบท “หลวงสรศักดิ์”
ซึ่งท่าของมวยโบราณนี้ ก็มาจากละคร เรื่องบุพเพสันนิวาส นั่นเองรวมไปถึงฉากที่ เกี่ยวกับมวยไทยโบราณ ที่ในเรื่องมีตัวละครชื่อ หลวงสรศักดิ์ ซึ่ง ก็คือพระเจ้าเสือ นั่นเองเนื่องจากตาม ประวัติศาสตร์นั้น ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้น ท่ามวยไทย ที่เรายังคงเห็นและ สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน และได้ มีการใช้ท่ามวย อะไรบ้างเราไปดูกันเลย
1.ตํารามวยพระเจ้าเสือ นาคขนดหาง
ท่านี้จะเป็นการ ใช้บริเณส่วนขาเรา ฟ้าดเข้าที่ก้านคอ ของคู่ต่อสู้และกด ลงมาโดยใช้แรงเยอะที่สุด ต้องบอกได้เลยว่า ใครที่โดนหมัดนี้เข้าไป จะต้องเป็นอัน น๊อคล่วงไปกองทุกราย และไม่สามารถที่จะ ลุกขึ้นมาโต้ตอบได้ ทันทีอย่างแน่นอน อาจจะฟังดูไม่คุ้นหู คุ้นตากับท่านี้ซักเท่าไหร่ เนื่องจากที่นี้ไม่ได้เป็นที่ หยิบยกขึ้นมาใช้บ่อยนัก แต่ต้องบอกเลยว่าทางละคร บุพเพสันนิวาส ที่ได้หยิบท่านี้ขึ้นมา ให้นักแสดงได้โชว์ลีลาท่ามวยท่านี้ ยอดเยี่ยมจริงๆกับท่า “นาคขนดหาง”
2.ดับชวาลา
ท่านี้นั้นหากเมื่อคู่ต่อสู้ เดินตรงเข้ามาและ ปล่อยหมัดซ้ายตรงๆ เราที่เป็นฝ่ายรับ ให้ฝ่ายรับให้ก้าวเท้า ขวาเฉียงแขยงออกมานอกวง ให้ได้ระดับเดียวกับหมัดตรง ทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวา ใช้แขนขวาปัด กดแขนซ้ายของฝ่ายรุก ให้เบนลงต่ำ พร้อมรีบชกด้วย หมัดซ้ายตรงที่ บริเวณเบ้าตา ในทางกลับกัน ถ้าเราเป็นฝ่ายรุก ให้ชกด้วยหมัดขวา และทำตรงกันข้าม ถือเป็นท่ามวยแก้ หมัดตรงของฝ่ายตรงข้าม
3.หักงวงไอยรา
ซึ่งท่านี้จะเป็นการใช้ ศอกในการแก้ทางมวย และตัดกำลังขา ของคู่ต่อสู้ได้อย่างดี เนื่องจากมวยไทยจะมี การใช้ขาในการเตะอยู่หลายท่า ดังนั้นท่า หักงวงไอยรา จึงใช้ตัดกำลังขา ของคู้ต่อสู้ ด้วยการใช้ศอกกระทุ้งที่โคนขา หรืออาจจะยากในการ ที่จะหาจังหวะ เพราะเมื่อคู่ต่อสู้ยกแขน เตะกวาดที่ชายโครงแล้ว ฝ่ายรับจะต้อง ก้าวเข้าหาอีกฝ่ายอย่างรวดเร็ว พร้อมหันหน้าไปตาม ทิศทางที่ฝ่ายตรงข้าม รุกเตะเข้ามา ให้กระแทกศอกอัด บริเวณโคนขา พร้อมใช้แขนจับล็อกที่หน่อง ยกให้ขาขึ้นสูง เพื่อให้เสียหลักป้องกันนั่นเอง
4.หนุมานถวายแหวน
ท่านี้จะเป็นการใช้เชิงมวย และการแก้ทางมวยมือขวา ถ้าใครที่ได้ดูฉาก ในละครจะเห็นว่าท่านี้ ก็พิษร้ายแรงใช้เล่น ที่จะทำเอาคู่ต่อสู้ เจ็บช้ำเลือดช้ำหนอง กันเลยทีเดียว เนื่องจากฝ่ายรับจะ ก้าวเท้ามาด้านข้าง พร้อมใช้หมัดซ้าย ปัดหมัดขวาของฝ่ายรุก จากนั้นย่อตัวลงหลบ หมัดตรงของคู่ต่อสู้ แล้วสวนกลับด้วยหมัดทั้งสอง เสยเข้าที่คางอย่างจัง ใครโดนเข้าไป มีน็อคกลางอากาศอย่างแน่นอน
5.ยอเขาพระสุเมรุ
ท่านี้ใช้ตั้งรับหมัดตรง หากคู่ต่อสู้นั้นเป็นมวยซ้าย ให้ก้มศีรษะลง ให้หมัดของอีกฝ่าย ผ่านศีรษะไป พร้อมกับสืบเท้าขวา ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้ความรวดเร็ว และจังหวะปล่อยหมัด เสยปลายคางฝ่ายตรงข้ามทันที
จากการที่พระเจ้าเสือ นั้นทรงพระปรีชาสามารถ เกี่ยวกับมวยไทย จึงทรงคิดท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทยขึ้นมาเป็น แบบเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” จากที่ได้มีการ บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในสมัยรัชการที่ ๕ ซึ่งเป็นตำรามวย ตำรับพระเจ้าเสือ ที่เก่าแก่ที่สุด
เป็นมรดกทาง ภูมิปัญญาจากบรรพชน ที่ได้รับการถ่ายทอด มาสู่ชนรุ่นหลัง และสืบทอดมาจน ถึงทุกวันนี้ ในความเป็นไทย ระหว่างศิลปะการต่อสู้ และ การป้องกันตัว ที่เรียกว่ามวยไทย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียง ในการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังคงมีนัยแฝงอยู่มากมาย เนื่องจากมีที่มารากเหง้า
ของชนเผ่าไทยและในฐานะ “มวยไทย”ศิลปวัฒนธรรม ประจำชาติ เป็นทั้งวิถีชีวิต สังคม และจิตวิญญาณ ของความเป็นไทย ที่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกราช เอกลักษณ์ ตลอดจนเพื่อรณรงค์ ปลุกจิตสำนึกให้ ชนรุ่นหลังรำลึกถึง ความเป็นมาของ ภูมิปัญญาแห่งชนชาติ ที่ได้รังสรรค์ มวยไทย มาไว้เป็นมรดก การต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์
อ่านบทความมวยเพิ่มเติม >> กีฬามวยปล้ำ โอลิมปิก
ขอบคุณข่าวสารมวยไทยดีๆจาก : ดูบอล123 แทงบอลยูโร