ความเป็นมาของมวยไชยา มวยไทยภาคใต้ เป็นศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่มีมาตั้งแต่โบราณ
ความเป็นมาของมวยไชยา “มวยไชยา” นั้นเป็นอีกหนึ่ง ศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่มีบทบาทสำคัญ ในการปกป้องบ้านเมือง มาตั้งแต่สมัยโบราณ มวยไชยานั้นมีที่มาจาก “พ่อท่านมา” แห่งวัดทุ่งจับช้าง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งแต่เดิมก่อนที่พ่อท่านมา จะเข้าอุปสมบทนั้น ท่านเป็นทหารอยู่ในกรุงเทพ ดังนั้นมวยไชยา ที่แท้จริงแล้วน่าจะเป็น มวยที่มีที่มาอันยาวไกล ยากที่จะสืบสาวได้
และเหตุผลที่มวยของ พ่อท่านมามีชื่อเรียก ติดปากว่า “มวยไชยา” นั้นสืบเนื่องจากที่ ท่านได้เบื่อชีวิตของ การเป็นทหารและ เบื่อต่อฆราวาสสมบัติ ท่านจึงได้ออกบวชแล้ว ได้เดินธุดงค์เรื่อยไป จนได้ไปอยู่ที่วัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในขณะนั้นเอง ท่านได้เมตตาถ่ายทอด ศิลปะการต่อสู้ของไทย ให้กับประชาชนที่นั่น
และหนึ่งในลูกศิษย์ของท่าน ก็คือ ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ณ ตอนนั้นเอง มวยไทยสายพ่อท่านมา จึงถูกเรียกขานจนติดปากว่า “มวยไชยา” และ ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ลูกๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ นายเขตร ศรียาภัย
และหลังจากที่นายเขตร ศรียาภัย ได้ร่ำเรียนจากบิดาก็คือ ท่านเจ้าเมืองแล้ว นายเขตร ศรียาภัย ยังได้ร่ำเรียนจากครูมวยอื่นๆอีก รวมแล้วถึง 12 ครู ซึ่งต่อมาท่านได้ ถูกขนานนามว่า “ปรมาจารย์” ซึ่งมวยไชยาตำรับของ พ่อท่านมาที่สืบทอดมายัง ท่านปรมาจารย์เขตร ศรียาภัยนั้น ได้ถูกเกลา ถูกวิเคราะห์
ต่อเติมให้เข้ากับยุคสมัย และยังคงสามารถนำไป ใช้ได้ในเหตุการณ์จริงอีกด้วย จึงทำให้มวยไชยา ตั้งแต่ครั้งอดีตนั้นจะสอน ตั้งแต่การป้องกันตัว และจะเป็นการป้องกันตัวแบบ ป.คือ ป้อง ปัด ปิด เปิด (ทุ่ม ทับ จับ หัก กอด รัด ฟัด เหวี่ยง ) ซึ่งเป็นท่าสำคัญและ ท่า 4 ป.ของไชยานั้นจะป้องกันตัวได้ ตั้งแต่หัวแม่เท้ามายันเส้นผม เมื่อผู้ที่ได้รับการฝึก 4 ป. จนมีความชำนาญแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจ และจะรู้ตัวเองว่า ได้มีความชำนาญของการ ใช้ลูกไม้ต่างๆแล้วนั่นเอง
ความเป็นมาของมวยไชยา การแต่งกายของมวยไชยานั้นเป็นแบบไหน?
- เริ่มแรกเลยก็คือ การพันหมัด หรือที่เรียกว่าหมัดถักนั่นเอง เมื่อผู้ใดที่จะได้คู่ชก ทางฝ่ายจัดรายการ จะแจกด้ายขนาดโตคนละม้วน เมื่อได้ด้ายดิบแล้ว นักมวยก็จะนำด้ายดิบนั้น เข้าพุ่มไปให้พรรคพวก ช่วยกันจับเป็นจับๆ ซึ่งสำหรับหนึ่งจับก็จะ เล็กกว่าปลายนิ้วก้อยเล็กน้อย แล้วตัดออกเป็นท่อนๆ มีความยาวประมาณ 4-5 เมตร ชั้นแรกที่จะพันมือ ก็จะใช้ผ้าเรียบพันมือก่อน ชั้นที่สองซึ่งจะพันด้วย ด้ายดิบซึ่งจะขวั้นเป็นเกลียว จนเกิดเป็นปมอยู่ทั่วไป แล้วพันด้วยผ้าเรียบ แล้วพันด้วยด้ายที่ถูขวั้น เป็นเกลียวจนเกิดปม พันสลับกันเช่นนี้หลายชั้น การพันมือจะพันจนถึง ข้อมือเท่านั้นส่วน ปลายนิ้วมือจะพันขึ้นไป พอถึงข้อนิ้วแรก ให้กำหมัดได้สะดวก และขณะที่พันมืออยู่นั้น จะต้องใช้ปลายนิ้วมือ คอยแหย่ไว้ตามช่องนิ้วมือ ระวังไม่ให้แน่นจนเกินไป เพราะถ้าหากว่าแน่น จะทำให้กำหมัดไม่แน่นเวลาชก ซึ่งอาจทำให้เกิด อันตรายถึงนิ้วมือหัก ในขณะต่อสู้เมื่อชกโดน คู่ต่อสู้จังๆนั่นเอง
- การพันลูกโปะ หรือกระจับ ในการพันลูกโปะจะใช้ผ้าสองผืน ผืนแรกจะใช้ผ้าขาวม้าก็ได้ หรือผ้าชนิดอื่นที่ยาวพอสมควร ผืนที่สองจะใช้ผ้าอะไรก็ได้ วิธีพันจะใช้ผ้าผืนแรกต่างเข็มขัด ปล่อยชายข้างหนึ่ง ยาวปลายข้างหนึ่งและ จะผูกเป็นปมหมดชายผ้า ปล่อยข้างยาวลงไปข้างล่าง ส่วนผืนที่สองจะม้วนเป็นก้อนกลม ใช้ผ้าผืนนี้วางลงทับแทนกระจับ ใช้ชายผ้าที่ปล่อยให้ห้อยลง ของผืนแรกคาดทับลงไป แล้วเต้าชายผ้าส่วนนั้น เข้าระหว่างขาดึงให้ตึง ไปผูกชายที่เหลือเข้ากับ ส่วนที่ผูกแทนเข็มขัดที่ด้านหลัง
- สวมประเจียด นั้นเป็นเครื่องสวมศีรษะ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของ นักมวยไชยา ส่วนนักมวยภาคอื่นจะสวม “มงคล” แทนนั่นเอง ประเจียดนั้นจะทำเป็น ลักษณะแบนๆมากกว่า ทำให้กลมและมีการ ลงคาถาอาคม ลงเครื่องป้องกันต่างๆ ขณะชกถ้าหากว่า ประเจียดหลุดก็ยกมือ ขอเก็บมาสวมใหม่ได้ และวัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการป้องกัน เพื่อไม่ให้เส้นผม ลงปิดหน้าในขณะที่ กำลังชกต่อสู้นั่นเอง
อยากจะฝึกมวยไชยา เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร การเตรียมตัวก่อนฝึกมวย
การเตรียมตัว ก่อนที่เราจะเริ่มการฝึก มวยไชยา เราก็จะต้องสำรวจใจ ของเราเองก่อนว่า มีความปกติและจะต้อง มีความระมัดระวังเป็นพื้นฐาน และมีความสนใจ ในการฝึกมวยไทยอย่างจริงจัง มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความกตัญญู ต่อผู้มีพระคุณ เพราะว่าจะเป็นตัวกระตุ้น ให้คนไทยคิดค้น วิชาการต่อสู้ป้องกันตัว
ที่ไม่เหมือนชาติใดในโลก ซึ่งมีความสมบูรณ์แบบเป็นที่สุด มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีความแข็งแกร่ง อยู่ในตัวของมันเอง ดังนั้นผู้ฝึกต้องหมั่นสำรวจ เสียก่อนในเบื้องต้น หากเราขาดตกบกพร่อง ข้อหนึ่งข้อใด ก็ขอให้เพียรพยายาม สร้างขึ้นให้สมบูรณ์ เพื่อเป็นพื้นที่จะรองรับ รากฐานที่สมบูรณ์ที่สุดต่อไป
เพราะว่ามวยไชยานั้น เป็นมวยที่ให้ความสำคัญ กับการป้องกันตัว เป็นหนึ่งในสายมวย ที่ถูกเลือกให้เป็น กรมทนายเลือก ทำหน้าที่คอยดูแล อารักขาความปลอดภัย พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ และยังเป็นหนึ่งใน สายมวยที่ได้รับฉายา “หมื่นมวยมีชื่อ” เพราะเมื่อครั้งที่ นายปล่อง จำนงทอง ใช้ท่าเสือลากหาง อันเป็นท่าลูกไม้สำคัญ เข้าทุ่มทับนักมวย จากโคราชลงไปสลบ หน้าพระที่นั่งพระพุทธเจ้าหลวง
กติกาของมวยไชยา มวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน
และสำหรับกติกาในการต่อสู้ ก็จะใช้แม่ไม้มวยไทย ได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น หมัด เท้า เข่า ศอก ในการต่อสู้ใช้จำนวนยก 5 ยก และใช้ยกเวียน ที่หมายความว่าวันนั้นจับมวยได้กี่คู่ ก็จะชกกันคู่ละหนึ่งยก โดยคู่ที่ 1 ชกยกที่ 1 ก็เข้าพุ่มที่สำหรับพักนักมวย คู่ที่ 2 ขึ้นชกยกที่ 1 และยกที่ 1 จนไปถึงคู่สุดท้าย
คู่ที่ 1 จึงจะชกยกที่ 2 แล้วเวียนไปจนถึงคู่สุดท้าย ซึ่งคู่ที่ 1 จึงขึ้นชกยกที่ 3 การชกนั้นจะปฏิบัติเช่นนี้จนครบ 5 ยก แต่ถ้ามีคู่ใดแพ้ชนะก่อนกัน ก็จะทำการตัดคู่นั้นไปเลย ส่วนที่เหลือก็จะเวียนไป และกติกาการหมดยกก็จะมีทั้งหมด 2 แบบก็คือ กติกาแบบที่ 1 คือเมื่อมีฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำ ไม่สามารถป้องกันตัวได้
ก็ยกมือขอบอกเวลาหมดยก เพื่อเข้าพุ่มแก้ไขอาการที่เพลี่ยงพล้ำนั้น และคำว่า ยก ที่ใช้กันในทุกวันนี้ ก็น่าจะมีความเป็นมาจาก อาการที่ยกมือดังกล่าวก็อาจเป็นไปได้ และกติกาในแบบที่ 2 ในขณะที่ชกอยู่เขาจะใช้ลูกลอย เจาะก้นลอยน้ำแบบที่ ใช้ในการชนไก่แต่เดิม เมื่อลูกลอยจมน้ำเจ้าหน้าที่ ก็จะตีกลองบอกหมดยก เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้เข้าพุ่ม เพื่อแก้ไขการชกให้น้ำ และแนะนำการแก้ ลูกไม้มวยส่วนคู่ต่อไ ปก็จะขึ้นชกกันต่อไปนั่นเอง มวยกรงคืออะไร